วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง

ประวัติหลวงปู่สุข
พระครูภาวนาภิมณฑ์ (หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต)วัดโพธิ์ทรายทอง ตำบลละหานทรายอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ชาติกำเนิด พระครูภาวนาภิมณฑ์ หรือหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เดิมชื่อ สุข นามสกุล ยอดเยี่ยมแกร เป็นบุตรของ นายโฮ และนางแฮม ยอดเยี่ยมแกร อาชีพทำนา ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๒๑ แรม ๕ ค่ำ ปีเถาะ เกิดที่บ้านละหานทราย หมู่ที่ ๒ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตจำนวน ๖ คน หลวงปู่สุขเป็นคน ที่ ๔ มีรายนามดังต่อไปนี้๑.นายหีบ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๒.นายเต็บ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๓.นายเกต ยอมเยี่ยมแกร เสียชีวิต๔.หลวงปู่สุข มรณภาพ ๓๑ธ.ค.๒๕๑๕๕.นายแป๊ะ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๖.นางอ้ม ยอดเยียมแกร เสียชีวิตการศึกษา ในสมัยนั้นการเรียนหนังสือต้องอาศัยวัด อำเภอละหานทราย ยังเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ในป่าดงพงพี ถนนหนทางก็ไม่สะดวก เด็กชายสุข เรียนหนังสือขอมที่วัดโพธิ์ทรายทอง จนสามารถ อ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ทรายทอง บรรพชาอยู่ได้ ๕ พรรษาการอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทรายทองตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีกุน มีเจ้าอธิการนิ่ม วัดสายน้ำไหล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลิ่น เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการเกิดเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโชโต” แปลว่า แสงสว่างแห่งธรรม เมื่อหลวงปู่สุขท่านอุปสมบทท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทรายทอง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรมแต่ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งเป็นภาษาขอม จนมีความรู้ แตกฉานสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่วัดโพธิ์ทรายทองจนแตกฉานดีแล้ว ท่านก็ตั้งใจที่จะออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวก เพราะหลวงปู่เห็นว่า การที่เล่าเรียนเฉพาะพระธรรมวินัยภายในวัดแต่เพียงอย่างเดียว มันเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ไม่ก่อประโยชน์แก่ตัวเองมากนัก ท่านจึงตัดสินใจออกเดินธุดงค์ไปกลายแห่ง ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้เรียนกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และด้านพระเวทย์วิทยาคมต่าง ๆ ท่านได้ศึกษากับ พระอาจารย์อินทร์ ภิกษุชาวเขมรซึ่งได้ธุดงค์มาจาก เมืองศรีโสภณ และได้มาสร้าง วัดหนองติม อยู่ในเขต อ.ตาพระยา ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับ จังหวัดปราจีนบุรี หลวงปู่สุขท่านได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานและก็สมถภาวนาอยู่เป็นประจำ ปฏิบัติธรรมด้วยความเคร่งครัดจนชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ท่านสำเร็จถึงขั้น “อภิญญา” ด้วยวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ความสำเร็จทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้ขาวบ้านเล่ากันปากต่อปาก ถึงกับมีผู้เสื่อมใสหลวงปู่ ในหลายจังหวัดเดินทางมากราบมนัสการและสนทนาธรรมอยู่อย่างเนืองนิตย์ถนนหนทางในสมัยนั้น การคมนาคมยังไม่เจริญเท่าทุกวันนี้ บางคน บางคณะอาจต้องค้างแรมกันหลายคืนทั้งยังบุกป่าฝ่าดงเผชิญกับสัตว์ป่าดุร้ายมากมาย แต่กลุ่มผู้ศรัทธาก็ไม่ยอมย่อท้อ ต่อความยากลำบาก เดินทางมาจนถึงตัวท่านให้ท่านเป่ากระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บาง เพื่อความเป็นสิริมงคลตำแหน่ง และสมณศักดิ์ (ประวัติการปกครอง)พ.ศ. ๒๕๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทรายทอง(เป็นเจ้าอาวาส ๓๓ ปี)พ.ศ. ๒๕๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบลละหานทรายพ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์พ.ศ. ๒๕๑๕ มรณภาพ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕) รวมสิริอายุได้ ๙๕ ปีวัดโพธิ์ทรายทองเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ สมัยยุคต้นรัตนโกสินทร์วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ศึกษาพระธรรมวินัย จากคัมภีร์ตำราตัวอักษรขอมและบาลีมีความรู้แตกฉานเชี่ยวชาญ หลวงปู่สุขได้ศึกษาเล่าเรียนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก หลวงปู่มั่นภูริทัตโต พระอริยสงฆ์ ผู้นำกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานแห่งภาคอีสาน ซึ่งกล่าวกันว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสำเร็จอรหันต์ เป็นอาจารย์ใหญ่ของพระป่า สายธรรมยุติกิจวัตรประจำที่หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ถือปฏิบัติเป็นนิจ(ปฏิปทาพิเศษ)๑. เจริญสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นวัตรปฏิบัติประจำเนื่องนิจ โดยกำหนดองค์ “ภาวนา” ทุกลมหายใจเข้าออก และทุกอิริยาบถ อาทิเช่น๑.๑ การสวดมนต์ภาวนา และลงพระอุโบสถไม่เคยขาด๑.๒ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะฉันอาหาร ห่มจีวร สรงน้ำ เดิน นั่ง นอนจะต้องสวดภาวนากำหนดสมาธิ มีสติกำกับก่อนทุกครั้ง๑.๓ เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นระยะเวลานาน ๆ ๑๐ – ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหาร เว้นน้ำดื่มและห้ามไม่ให้ใครรบกวน๒. ท่านอยู่อย่างสันโดษ คือ เรียบง่าย เจริญตามแนวทางพระธรรมวินัย ละกิเลส เจริญปัญญา รู้แจ้ง เห็นจริง ในเรื่องกายและจิตอาทิเช่น ๒.๑ การอยู่อย่างสมถะฉันง่าย ไม่ยินดีในเรื่องรสชาติของอาหารบิณฑบาต ได้อะไรมาก็ฉันอย่างนั้นอยู่ง่าย ไม่สนใจในเรื่องความสะดวกสบาย อดทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะร้อน จะหนาว ไม่เคยใช้รองเท้า และสบู่ฟอกตัว๒.๒ ไม่สนใจในทรัพย์สิน และไทยทาน เงินทองหรือปิยภัณฑ์ใด ๆ ที่ได้รับมอบถวาย ไม่เคยเก็บสะสมเอาไว้เป็นสมบัติส่วนตัว และไม่เคยสนใจว่าใครจะหยิบฉวยเอาไป ใครอยากได้ก็ยินดีมอบให้เสมอไม่เคยหวงไม่เคยนับและถือจ่ายเงินเลย๒.๓ ไม่สนใจในลาภยศ ท่านเป็นพระป่าบ้านนอก เคร่งในพระธรรมวินัย มุ่งปฏิบัติเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสมาธิจิตสูงยิ่ง ไม่ยินดีในลาภยศสรรเสริญ ไม่แสวงหายศถาบรรดาศักดิ์เป็นพระสงฆ์สุปัฏิปันโน มักน้อย รักสันโดษ ถึงแม้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์ ท่านก็ไม่สนใจ ท่านเพียงแต่กล่าวว่า “ก็ข้าเป็นพระแล้วจะให้ข้าเป็นอะไรอีก”๓. มีเมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นรับนิมนต์โดยไม่เคยรังเกียจเดียดฉันท์ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไร ระยะทางจะไกลหรือใกล้๔. มีขันติ และวิริยะสูง ท่านเคร่งในวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีความเพียรพยายาม อุตสาหะ อดทนในการฝึกจิต สำรวจกายทุกลมหายใจเข้าออก นั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นระยะเวลานาน ๆ บางครั้งนั่งวิปัสสนากัมมัฎฐานถึง ๑๕ วัน โดยไม่ฉัน ท่านมีสมาธิจิตขั้นสูงสำเร็จ “อภิญญา”๕. ท่านมีความอดทนเป็นเลิศ แม้ยามเจ็บป่วย (อาพาธ) ไม่เคยปริปาก หรือบ่นให้ใครรู้ท่านล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้า ในวันสารท แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุล่วงได้ ๙๕ ปี หลวงปู่ได้หกล้ม ทำให้กระดูกต้นขาของท่านหลุดจากสะโพก ท่านทราบว่ากาลมรณสังขารใกล้สิ้นสุดแล้ว ท่านก็ไม่ปริปากบอกใครให้ทราบถึงอาการ เจ็บป่วยของท่านนั้นรักษาไม่หายหรอก มันเป็นเรื่องของสังขารเพราะท่านจะมรณภาพแล้ว ตลอดเวลาที่ท่านเจ็บป่วย ท่านไม่เคยโอดครวญหรือแสดงกิริยาอาการเจ็บปวดให้ใครเห็น ท่านใช้ขันติ และพิจารณาสังขารของท่านในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต๖. การถือธุดงค์วัตร เมื่อยามที่ท่านยังแข็งแรงอายุยังไม่สูงวัย ท่านถือธุดงค์วัตรเป็นนิจโดยท่านจะเดินธุดงค์หลังจากออกพรรษาแล้ว ไปประเทศเขมรผ่านทางวัดหนองติม อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อบำเพ็ญจิตและศึกษาวิชาเพิ่มเติม การเดินทางของท่านเป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะท่านเดินทางได้เร็วมาก มีผู้กล่าวว่าท่านสำเร็จวิชาย่นระยะทางไป – กลับ ได้ภายในวันเดียว๗. การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในด้านสืบสานพระพุทะศาสนา ท่านจะเคร่งในวัตรปฏิบัติจะนำพุทธศาสนิกชนทำบุญและถืออุโบสถศีลทุกวันพระ อบรมธรรม และฝึกฝนจิตด้านสมถกัมมัฏฐานให้กับพุทธบริษัท หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ท่านนิยมสอนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับบุคคลโดยทั่วไป ผู้ถือศีล สามเณร และพระภิกษุ โดยท่านจะให้ผู้ขอขึ้นกัมฏฐานกับท่านใช้องค์ภาวนาและใช้คาถา “อะ อา แอ๊ก ไอ นะ นู เน นิ นัง” ซึ่งเป็นภาษาเขมรการรับกิจนิมนต์ไปพุทธาภิเษกวัตถุมงคล เพื่อหาเงินสร้างวัดของ วัดป่าธรรมธีราราม (วัดป่าหลังโรงเลื่อย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยรับนิมนต์ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสารามแขวงบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ปลุกเสกวัตถุมงคลรูปหล่อบูชารุ่นแรก และพระรูปเหมือนขนาด ๑ เซนติเมตร ณ หอสมุดกรมหลวงพระปรมานุชิตชิโนรส วัดชิโนรสาราม ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ก่อนท่านมรณภาพ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เป็นพระอริยสงฆ์ สุปฏิปันโน มีวัตรปฏิบัติที่งดงามสมเป็น “พระแท้” อย่างแท้งจริงสมควรค่าแก่การกราบไหว้บูชา ท่านเคร่งในพระธรรมวินัยถือการปฏิบัติ เจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดองค์ภาวนาทุกลมหายใจเข้า ออก ท่านสำเร็จญาณสมาบัติขั้นสูงเรียกว่า “อภิญญา”อภิญญา คือ ความรู้ชั้นสูงในพุทธศาสนา ซึ่งได้จากการปฏิบัติทางด้านวิปัสสนาธุระ มีอยู่ ๖ ประการด้วยกันคือ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้๒. ทิพยโสต หูทิพย์๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด รู้ใจผู้อื่น๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ระลึกชาติได้๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น ด้วยเหตุและผลดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกแต่อย่างใดเลยที่หลวงพ่อสุข ธมฺมโชโต จักทรงคุณวิเศษและแสดงให้แจ้งประจักษ์แก่สาธุชนท่านยังสำเร็จ วิชาสรตโสฬร คือ สามารถกำหนดรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ความศักดิ์สิทธิ์ ความแม่นยำในการทำนายทายทักเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าได้จริงเหมือนตาเห็น สามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ตลอดจนคุณวิเศษต่าง ๆ ได้นานัปการ เช่น การล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า การบอกใบ้หวย การรู้วาระจิตบุคคลอื่น เป็นต้น วิชาดังกล่าว เป็นวิชาที่มีจริง จะบังเกิดเฉพาะท่านที่ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งได้ญาณสมาบัติขั้นสูงเท่านั้นผลงานด้านการปกครองด้านการพัฒนาและสืบสานพระพุทธศาสนา ท่านบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอละหานทราย และอำเภอใกล้เคียงในเรื่องความเดือนร้อนของชาวบ้าน เช่น เรื่องแหล่งน้ำ การประสานกับลูกศิษย์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สร้างความเจริญให้กับพื้นที่อำเภอละหานทรายเป็นอย่างมากท่านได้พัฒนาวัดโพธิ์ทรายทอง และไปสร้างวัดอีก ๓-๔ วัด กล่าวคือพ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่ก่อสร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๙ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐บาทพ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่สร้างวัดบ้านโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงปู่ช่วยในการย้ายวัดหนองติม ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยย้ายจากในหมู่บ้านไปยังนอกหมู่บ้าน (สถานที่ปัจจุบัน)พ.ศ. ๒๔๙o หลวงปู่สร้างวัดหนองหมี ที่บ้านหนองหมี ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ได้สร้างศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ทรายทอง ๑หลัง กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้ สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ ๑,๕๐๐ บาทพ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่สร้างวัดไม้แดงที่บ้านโคกไม้แดงพ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง เสาคอนกรีตต่อไม้ มุงสังกะสี ๑ หลังกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร lสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๑๕,๐๐๐บาทพ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างกุฎิสงฆ์ วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง สร้างกุฏิเสาไม้สร้างด้วยไม้ มุงสังกะสี ๑ หลัง กว้าง ๙ เมตรสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาทและได้ไปพัฒนาวัดต่าง ๆ ในอำเภอใกล้เคียงและต่างจังหวัดที่ได้รับนิมนต์ อาทิวัดทับเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ววัตถุมงคลที่ท่านไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกหรือ ปลุกเสกโดยไม่ใช่รูปเหมือนท่าน (( ดูวัตถุมงคลหลวงปู่สุข )) - พ.ศ. ๒๔๙๘ ปลุกเสกเหรียญหลวงพ่อเพียร วัดศรีวิสุทธาราม บ้านถนนหัก ตำบลถนนหักอำเภอ นางรองกับหลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา- พ.ศ.๒๔๙๙ ปลุกเสกเหรียญ หลวงพ่อเทิ่ง วัดอัมภาราม ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหลวงพ่อเป็น วัดเจริญนิมิต อำเภอละหานทราย- พ.ศ.๒๕๐๐ ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่ท้องสนามหลวง ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ- มกราคม ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในพิธีมหาจักพรรดิ์ “กริ่งนเรศวรวังจันทร์” จังหวัดพิษณุโลก- เมษายน ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่บ้านหนองปรือ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พออายุได้ ๒๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่วัดโพธิ์ได้ระยะหนึ่งก็เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร และประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มาอยู่วัดชิโนรสาราม อยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ไปอยู่วัดโพธิ์ จังหวัดนครราชสีมา และได้มรณภาพในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๕ ช่วงอยู่ วัดชิโนรสาราม ได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้มากมาย อาทิ ซ่อมพระอุโบสถ ซ่อมตำหนักหอสมุด สร้างกุฎิ สร้างถนน สร้างฌาปนสถาน สิ้นงบประมาณดำเนินการ ๗๔๘,๐๐๐ บาท และได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส วัดชิโนรสาราม ท่านสนใจในเรื่องพุทธาคม และเลื่อมใสในองค์สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหฺมรังสี มาก ได้สร้างพระเครื่องและพระบูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๑๒ ณ วัดชิโนรสาราม เป็นพระผงสมเด็จ พระกริ่งปรมา พระพุทธชินราชจำลอง ขันน้ำมนต์จารึกพระคาถาชินบัญชร และพระคาถาพาหุง ๘ บท ขันนิมันต์พระปริตร และพระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม การสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ได้ร่วมกับ พระอาจารย์พิชัย รตฺนญาโณ จัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ประมาณเดือนสิงหาคม พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ ได้นิมนต์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดชิโนรสาราม และได้หล่อรูปเหมือนบูชา เนื้อโลหะ ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว เป็นรุ่นแรกรูปเหมือนลอยองค์ พิมพ์หน้าบาก เนื้อทองผสม และรูปถ่ายอัดกระจกในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มาจำพรรษาที่ วัดโพธิ์ทรายทอง ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนเป็นช่อจำนวน ๑๐๘ องค์ และได้สร้างพระผงรูปสี่เหลี่ยม ตะกรุดสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์ พิมพ์หน้าบากเล็ก เนื้อทองแดงในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้จัดสร้างรูปหล่อรูปองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนผสมจ้าวน้ำเงินให้กับวัดโพธิ์อำเภอเมืองนครราชสีมาในพิธีพุทธาภิเษกรุ่น “อยู่ เย็น เป็น สุข” พระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม เป็นพระกริ่งที่สร้างถูกต้องตามคติโบราณกาล ตามตำรับการสร้างพระกริ่งของสมเด็จเมธี (เจีย ป.๙) ได้รับตำราเป็นมรดกทอดและได้เมตตา ลงยันต์การสร้างต่าง ๆ ให้ ซึ่งประกอบด้วยยันต์ร้อยแปด กับ นะปัตถมัง ๑๔ นะ มีพระเกจิอาจารย์โด่งดังยุคนั้น ร่วมปลุกเสกนับเป็นพระเครื่องที่โงดังของวัดชิโนรสาราม และหาได้ยากในปัจจุบัน จากตำนานการสร้างพระกริ่งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ดังกล่าว คือ ที่มาของการจัดสร้างรูปหล่อลอยองค์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง ที่โด่งดังในยุคปัจจุบัน นับว่าพระปลัดมานพ ทุลฺลโภ และพระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ คือ ผู้สร้างสรรค์และเผยแพร่เกียรติคุณให้กับหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ให้มีชื่อเสียงขจรขจายโดยเฉพาะในด้าน วัตถุมงคลของของหลวงปู่สุขซึ่งเป็นที่เสาะแสวงหาของลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ราคาเช่าหากในปัจจุบัน จึงมีราคาแพง เพราะเสาะหาได้ยากยิ่ง พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ หรือ พิชัย โสมศรีแก้ว ปัจจุบันได้ลาสิกขาบทและประกอบอาชีพส่วนตัวเปิดโรงพิมพ์อยู่ที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรัมย์ ได้กล่าวถึงพระอาจารย์หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ดังนี้ พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ ในขณะนั้นดำรงคำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้หลวงปู่พัฒนาและถาวรวัตถุอาทิ เช่น ศาลาการเปรียญ โบสถ์ โดยท่านได้ขออนุญาตหลวงปู่สุข จัดสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ จนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ ได้ร่วมกับ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสาราม กรุงเทพมหานครซึ่งพระปลัดมานพ ท่านเป็นชาวนางรอง นับถือเลื่อมใสหลวงปู่สุขมาก