วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทสวดสำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี

รัตนสูตร คือบทสวดสำหรับผู้ที่เกิด “วันพฤหัสบดี” และใช้ทำน้ำมนต์(ว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป)
สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเกิดอหิวาตกโรค ระบาดที่เมืองเวสาลี ในช่วงเวลานั้นเกิดภัยแล้ง ข้าวกล้าในไร่นาเกิดความเสียหายหนัก ผู้คนอดอยาก และล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองเวสาลีนำซากศพเหล่านั้นไปทิ้งไว้นอกเมือง ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า
“เพราะกลิ่นซากศพของคนที่ตายทั้งหลาย พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง ต่อแต่นั้นคนก็ตายมากต่อมาก เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย”
ชาวเมืองเวสาลีช่วยกันค้นหาสาเหตุของทุพภิกขภัยครั้งนี้ ได้กราบทูลพระราชาว่า คงเป็นเพราะพระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรมกระมัง จึงเกิดทุกข์เข็ญเช่นนี้ พระราชารับสั่งให้ช่วยตรวจสอบว่า พระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรมข้อใด ประชาชนก็ช่วยกันพิจารณาตรวจสอบแต่ไม่พบข้อบกพร่องแต่อย่างใด ต่อมามีบางพวกเสนอว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ขอได้โปรดกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระพุทธองค์มาโปรดชาวเมืองเวสาลีด้วยเถิด
ในขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ และพระเจ้าพิมพิสารทรงอุปัฏฐากพระพุทธองค์อยู่ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่าชาวเมืองเวสาลีได้ทูลอาราธนาพระองค์เสด็จดับทุกข์ให้ จึงทรงรับด้วยทรงทราบชัดว่า
"เมื่อเราแสดงรัตนสูตรในเมืองเวสาลีแล้ว อารักขาจะแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล ในเวลาจบพระสูตร ธรรมาภิสมัยจักมีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน"
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงเมืองเวสาลี เกิดฝนตกหนัก เรียกว่า "ฝนโบกขรพรรษ" เป็นฝนพิเศษ เพราะผู้ใดต้องการจะเปียกฝน ก็เปียก ผู้ใดไม่ต้องการเปียก ก็จะไม่เปียก ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมถึงเข่า ถึงเอว ถึงคอ แล้วน้ำพัดพาเอาซากศพเหล่านั้นลงไปในแม่น้ำคงคาจนหมดสิ้น แผ่นดินก็สะอาดบริสุทธิ์ขึ้น
ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ประตูพระนคร ตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้วตรัสสอน "รัตนสูตร" แก่พระอานนท์ แล้วโปรดให้ทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมไปทั่วเมือง ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า
"เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำ เที่ยวประพรมอยู่ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า "ยังกิญจิ" เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศัยกองหยากเยื่อ และประเทศแห่งฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในกาลก่อน ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔ ....เมื่อพวกอมนุษย์ไปกันแล้ว โรคของมนุษย์ทั้งหลายก็สงบ" ดังนี้


แบบย่อ
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สะเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะอิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สัก์ยะมุนี สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยีสุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติอิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตังเอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯเย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีระพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโปอิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
แบบเต็ม
การสวดรัตนสูตร มีจุดประสงค์ในการขจัดภัยพิบัติ 3 ประการ (ตามที่ปรากฎในพระสูตร)1. ทุพภิกขภัย คือ ภัยจาก ข้าวยากหมากแพง2. อมนุสภัย คือ ภัยจาก ภูตผีปีศาจทำร้าย3. โรคภัย คือ ภัยจาก โรคภัยไข้เจ็บ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(แบบเต็มนะครับ)ยานี ธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วายานิวะ อันตะลิกเข,สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะ วันตุ,อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง, ตัส์มา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ, เม ตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ, ทิวา จะ รัต โต จะ หะรันติ เย พะลิง, ตัส มา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา, ยัง กิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา, สัค เคสุ วา ยัง ระ ตะนัง ปะณีตัง, นะ โม สะมัง อัต ถิ ตะถาคะเตนะ, อิ ทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ขะ ยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณี ตัง, ยะ ทัชฌะคา สัก์ยะมุนี สะมาหิโต, นะ เตนะ ธัมเมนะ สะ มัตถิ กิญจิ, อิ ทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมา หุ, สะมาธินา เต นะ สะโม นะ วิ ชชะติ, อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯเต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา, เอ เตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ, อิทัมปิ สัง เฆ ระตะนัง ปะณีตัง,เอเตนะ สัจ เจนะ สุวัตถิ โหตุฯเย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ, นิ กกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ, เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัย์หะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา, อิ ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯเย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ, คัม ภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เตโหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐ มะมาทิยันติ, อิทัมปิ สัง เฆ ระ ตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯสะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ, ตะ ยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะ วันติ, สัก กายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วา ปิ ยะทัตถิ กิญจิ, จะ ตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต จะ จา ภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง, อิ ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯกิญจาปิ โส กัมมัง กะโร ติ ปาปะกัง, กา เยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะ ภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ, อะ ภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา,อิทัมปิ สัง เฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค, คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห, ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิ พพานะคามิง ปะระมังหิตายะ, อิ ทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณี ตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯวะโร วะรัญญู วะระโท วะรา หะโร, อะ นุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ, อิ ทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจจนะ สุวัตถิ โหตุฯขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัส์มิง, เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิ พพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป,อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โห ตุฯยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุม มานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข, ตะ ถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุ ทธังนะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุม มานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข, ตะ ถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัม มังนะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุม มานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข, ตะ ถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สัง ฆังนะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
แปล
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่ อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี; ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด; และ เชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัยอันข้าพเจ้าจักกล่าวโดยเคารพเถิด;ดู ก่อนภูตทั้งหลายเพราะเหตุนั้นแล ขอท่านทั้งหลาย ทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้าเถิด; ขอ ท่านทั้งหลายจงกระทำเมตตาจิตในประชาชาวมนุษย์เถิด; ซึ่งมนุษย์ทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ทั้งกลางวัน และกลางคืน; เพราะเหตุนั้นแล ท่าน ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด; ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใดอันหนึ่งในโลกนี้ ก็ดีในโลกหน้าก็ดี; หรือรัตนะอันใดอันประณีตในสวรรค์; ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระคถาคตเจ้า ไม่มีเลย; แม้ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณ อันประณีต ในพระพุทธเจ้า; ด้วยคำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด; พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่นได้ทรงบรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลสเป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะธรรมอันประณีต สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี;แม้ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณ อันประณีตในพระธรรม; ด้วยคำสัจจ์นี้ ขอ ความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด; พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรง สรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันใด, ว่าเป็นธรรมอันสะอาด;บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงสมาธิอันใด ว่าเป็นธรรมที่ให้ผลโดยลำดับ; สมาธิอื่นที่เสมอด้วย สมาธินั้น ย่อมไม่มี; แม้ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณอันประณีต ในพระธรรม; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘ นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว; บุคคล เหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็น ผู้ควรแก่ทักษิณาทาน;ทานทั้งหลาย ที่ บุคคลถวายในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลเป็นอันมาก; แม้ ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;พระอริยบุคคลทั้งหลาย เหล่าใด มีใจอันมั่นคงไม่ยินดีในกาม ประกอบความเพียรดีแล้ว ในศาสนาพระโคดมเจ้า;พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น, บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือพระอรหัตตผลแล้ว หยั่งเข้าสู่พระนิพพานเป็นอารมณ์; ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่าๆ แล้ว เสวยอยู่พระนิพพาน อันเป็นเครื่องดับแห่งกิเลส;แม้ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;เสา เขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว, ลม ทั้ง ๔ ทิศที่พัดมา ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉัน ใด; บุคคลใดย่อมเห็นอริยสัจ ทั้งหลายโดยไม่หวั่นไหวเราเรียกผู้นั้นว่าเป็น สัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหว อุปมาเหมือนเสาเขื่อนนั้น แม้ ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์;ด้วยคำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด;บุคคล เหล่านั้น ถึงจะเป็นผู้ประมาทอยู่มาก แต่ ท่านก็ย่อมไม่ถือเอาภพมาเกิดในคำรพที่๘ แม้ข้อนี้ จัด เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด; สังโยชน์ ๓ ประการคือ สักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา,และสีลัพพตปรามาส ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ใน ภพ อันพระโสดาบันละได้แล้ว เพราะความถึงพร้อม แห่งญาณทัสนะอนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้วจากอบายภูมิทั้ง ๔ ทั้งไม่ อาจที่จะทำอภิฐานคือกรรมอันหนัก ๖ ประการ แม้ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วยคำสัจจ์นี้ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด;พระ โสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย ทางวาจาหรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง พระ โสดาบันนั้น ก็เป็นผู้ไม่ปกปิดความผิดนั้น ไว้ความที่บุคคลผู้เข้า ถึง กระแสพระนิพพานแล้ว เป็น ผู้ไม่ควรปกปิดความผิดไว้นี้ อัน เราตถาคตกล่าวแล้ว แม้ข้อนี้ จัด เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;พุ่ม ไม้ในป่า แตกยอดในเดือนต้นคิมหันต์แห่งคิมหันตฤดู ฉันใด พระ ตถาคตเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ซึ่ง เป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้ง หลาย ก็มีอุปมาฉันนั้น; แม้ ข้อนี้ก็เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระพุทธเจ้า; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเกิด;พระ ตถาคตเจ้าทางเป็นผู้ประเสริฐ ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่ง อันประเสริฐ; ทรงเป็นผู้ไม่ มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระ ธรรมอันประเสริฐ; แม้ ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระพุทธเจ้า; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเกิด;กรรม เก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรม ใหม่ที่จะเกิด ในภพใหม่ย่อมไม่มี;พระอริยบุคคลเหล่าใด, มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป; พระ อรหันต์เหล่านั้น มีพืชคือวิญญาณอันจะเกิดในภพต่อไปสิ้นแล้ว ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป; เป็น ผู้มีปัญญา ย่อมนิพพานเหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น; แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนคุณ อันประณีตในพระพุทธเจ้า; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเกิด;ภูต ประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วใน อากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ มาแล้ว ผู้ซึ่งเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด ภูต ประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วใน อากาศก็ดี เรา ทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว อัน เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เรา ทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด