รัตนสูตร คือบทสวดสำหรับผู้ที่เกิด “วันพฤหัสบดี” และใช้ทำน้ำมนต์(ว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป)
สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเกิดอหิวาตกโรค ระบาดที่เมืองเวสาลี ในช่วงเวลานั้นเกิดภัยแล้ง ข้าวกล้าในไร่นาเกิดความเสียหายหนัก ผู้คนอดอยาก และล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองเวสาลีนำซากศพเหล่านั้นไปทิ้งไว้นอกเมือง ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า
“เพราะกลิ่นซากศพของคนที่ตายทั้งหลาย พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง ต่อแต่นั้นคนก็ตายมากต่อมาก เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย”
ชาวเมืองเวสาลีช่วยกันค้นหาสาเหตุของทุพภิกขภัยครั้งนี้ ได้กราบทูลพระราชาว่า คงเป็นเพราะพระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรมกระมัง จึงเกิดทุกข์เข็ญเช่นนี้ พระราชารับสั่งให้ช่วยตรวจสอบว่า พระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรมข้อใด ประชาชนก็ช่วยกันพิจารณาตรวจสอบแต่ไม่พบข้อบกพร่องแต่อย่างใด ต่อมามีบางพวกเสนอว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ขอได้โปรดกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระพุทธองค์มาโปรดชาวเมืองเวสาลีด้วยเถิด
ในขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ และพระเจ้าพิมพิสารทรงอุปัฏฐากพระพุทธองค์อยู่ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่าชาวเมืองเวสาลีได้ทูลอาราธนาพระองค์เสด็จดับทุกข์ให้ จึงทรงรับด้วยทรงทราบชัดว่า
"เมื่อเราแสดงรัตนสูตรในเมืองเวสาลีแล้ว อารักขาจะแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล ในเวลาจบพระสูตร ธรรมาภิสมัยจักมีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน"
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงเมืองเวสาลี เกิดฝนตกหนัก เรียกว่า "ฝนโบกขรพรรษ" เป็นฝนพิเศษ เพราะผู้ใดต้องการจะเปียกฝน ก็เปียก ผู้ใดไม่ต้องการเปียก ก็จะไม่เปียก ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมถึงเข่า ถึงเอว ถึงคอ แล้วน้ำพัดพาเอาซากศพเหล่านั้นลงไปในแม่น้ำคงคาจนหมดสิ้น แผ่นดินก็สะอาดบริสุทธิ์ขึ้น
ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ประตูพระนคร ตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้วตรัสสอน "รัตนสูตร" แก่พระอานนท์ แล้วโปรดให้ทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมไปทั่วเมือง ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า
"เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำ เที่ยวประพรมอยู่ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า "ยังกิญจิ" เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศัยกองหยากเยื่อ และประเทศแห่งฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในกาลก่อน ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔ ....เมื่อพวกอมนุษย์ไปกันแล้ว โรคของมนุษย์ทั้งหลายก็สงบ" ดังนี้
แบบย่อ
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สะเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะอิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สัก์ยะมุนี สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยีสุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติอิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตังเอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯเย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีระพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโปอิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
แบบเต็ม
การสวดรัตนสูตร มีจุดประสงค์ในการขจัดภัยพิบัติ 3 ประการ (ตามที่ปรากฎในพระสูตร)1. ทุพภิกขภัย คือ ภัยจาก ข้าวยากหมากแพง2. อมนุสภัย คือ ภัยจาก ภูตผีปีศาจทำร้าย3. โรคภัย คือ ภัยจาก โรคภัยไข้เจ็บ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(แบบเต็มนะครับ)ยานี ธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วายานิวะ อันตะลิกเข,สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะ วันตุ,อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง, ตัส์มา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ, เม ตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ, ทิวา จะ รัต โต จะ หะรันติ เย พะลิง, ตัส มา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา, ยัง กิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา, สัค เคสุ วา ยัง ระ ตะนัง ปะณีตัง, นะ โม สะมัง อัต ถิ ตะถาคะเตนะ, อิ ทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ขะ ยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณี ตัง, ยะ ทัชฌะคา สัก์ยะมุนี สะมาหิโต, นะ เตนะ ธัมเมนะ สะ มัตถิ กิญจิ, อิ ทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมา หุ, สะมาธินา เต นะ สะโม นะ วิ ชชะติ, อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯเต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา, เอ เตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ, อิทัมปิ สัง เฆ ระตะนัง ปะณีตัง,เอเตนะ สัจ เจนะ สุวัตถิ โหตุฯเย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ, นิ กกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ, เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัย์หะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา, อิ ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯเย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ, คัม ภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เตโหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐ มะมาทิยันติ, อิทัมปิ สัง เฆ ระ ตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯสะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ, ตะ ยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะ วันติ, สัก กายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วา ปิ ยะทัตถิ กิญจิ, จะ ตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต จะ จา ภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง, อิ ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯกิญจาปิ โส กัมมัง กะโร ติ ปาปะกัง, กา เยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะ ภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ, อะ ภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา,อิทัมปิ สัง เฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค, คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห, ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิ พพานะคามิง ปะระมังหิตายะ, อิ ทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณี ตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯวะโร วะรัญญู วะระโท วะรา หะโร, อะ นุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ, อิ ทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจจนะ สุวัตถิ โหตุฯขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัส์มิง, เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิ พพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป,อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, เอ เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โห ตุฯยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุม มานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข, ตะ ถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุ ทธังนะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุม มานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข, ตะ ถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัม มังนะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุม มานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข, ตะ ถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สัง ฆังนะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
แปล
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่ อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี; ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด; และ เชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัยอันข้าพเจ้าจักกล่าวโดยเคารพเถิด;ดู ก่อนภูตทั้งหลายเพราะเหตุนั้นแล ขอท่านทั้งหลาย ทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้าเถิด; ขอ ท่านทั้งหลายจงกระทำเมตตาจิตในประชาชาวมนุษย์เถิด; ซึ่งมนุษย์ทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ทั้งกลางวัน และกลางคืน; เพราะเหตุนั้นแล ท่าน ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด; ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใดอันหนึ่งในโลกนี้ ก็ดีในโลกหน้าก็ดี; หรือรัตนะอันใดอันประณีตในสวรรค์; ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระคถาคตเจ้า ไม่มีเลย; แม้ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณ อันประณีต ในพระพุทธเจ้า; ด้วยคำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด; พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่นได้ทรงบรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลสเป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะธรรมอันประณีต สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี;แม้ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณ อันประณีตในพระธรรม; ด้วยคำสัจจ์นี้ ขอ ความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด; พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรง สรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันใด, ว่าเป็นธรรมอันสะอาด;บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงสมาธิอันใด ว่าเป็นธรรมที่ให้ผลโดยลำดับ; สมาธิอื่นที่เสมอด้วย สมาธินั้น ย่อมไม่มี; แม้ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณอันประณีต ในพระธรรม; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘ นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว; บุคคล เหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็น ผู้ควรแก่ทักษิณาทาน;ทานทั้งหลาย ที่ บุคคลถวายในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลเป็นอันมาก; แม้ ข้อนี้จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;พระอริยบุคคลทั้งหลาย เหล่าใด มีใจอันมั่นคงไม่ยินดีในกาม ประกอบความเพียรดีแล้ว ในศาสนาพระโคดมเจ้า;พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น, บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือพระอรหัตตผลแล้ว หยั่งเข้าสู่พระนิพพานเป็นอารมณ์; ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่าๆ แล้ว เสวยอยู่พระนิพพาน อันเป็นเครื่องดับแห่งกิเลส;แม้ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;เสา เขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว, ลม ทั้ง ๔ ทิศที่พัดมา ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉัน ใด; บุคคลใดย่อมเห็นอริยสัจ ทั้งหลายโดยไม่หวั่นไหวเราเรียกผู้นั้นว่าเป็น สัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหว อุปมาเหมือนเสาเขื่อนนั้น แม้ ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์;ด้วยคำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด;บุคคล เหล่านั้น ถึงจะเป็นผู้ประมาทอยู่มาก แต่ ท่านก็ย่อมไม่ถือเอาภพมาเกิดในคำรพที่๘ แม้ข้อนี้ จัด เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด; สังโยชน์ ๓ ประการคือ สักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา,และสีลัพพตปรามาส ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ใน ภพ อันพระโสดาบันละได้แล้ว เพราะความถึงพร้อม แห่งญาณทัสนะอนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้วจากอบายภูมิทั้ง ๔ ทั้งไม่ อาจที่จะทำอภิฐานคือกรรมอันหนัก ๖ ประการ แม้ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วยคำสัจจ์นี้ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด;พระ โสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย ทางวาจาหรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง พระ โสดาบันนั้น ก็เป็นผู้ไม่ปกปิดความผิดนั้น ไว้ความที่บุคคลผู้เข้า ถึง กระแสพระนิพพานแล้ว เป็น ผู้ไม่ควรปกปิดความผิดไว้นี้ อัน เราตถาคตกล่าวแล้ว แม้ข้อนี้ จัด เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระสงฆ์; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเถิด;พุ่ม ไม้ในป่า แตกยอดในเดือนต้นคิมหันต์แห่งคิมหันตฤดู ฉันใด พระ ตถาคตเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ซึ่ง เป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้ง หลาย ก็มีอุปมาฉันนั้น; แม้ ข้อนี้ก็เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระพุทธเจ้า; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเกิด;พระ ตถาคตเจ้าทางเป็นผู้ประเสริฐ ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่ง อันประเสริฐ; ทรงเป็นผู้ไม่ มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระ ธรรมอันประเสริฐ; แม้ ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันประณีตในพระพุทธเจ้า; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเกิด;กรรม เก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรม ใหม่ที่จะเกิด ในภพใหม่ย่อมไม่มี;พระอริยบุคคลเหล่าใด, มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป; พระ อรหันต์เหล่านั้น มีพืชคือวิญญาณอันจะเกิดในภพต่อไปสิ้นแล้ว ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป; เป็น ผู้มีปัญญา ย่อมนิพพานเหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น; แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนคุณ อันประณีตในพระพุทธเจ้า; ด้วย คำสัจจ์นี้ ขอความสวัสดี จง บังเกิดมีเกิด;ภูต ประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วใน อากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ มาแล้ว ผู้ซึ่งเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด ภูต ประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วใน อากาศก็ดี เรา ทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว อัน เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เรา ทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด
วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สูตรทำอาหารอย่างง่าย
ห่อหมก
เครื่องปรุง
เนื้อหมูหรือไก่หรือปลา 300 กรัม
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
มะพร้าว 400 กรัม
ไข่ 1 ฟอง
ใบโหระพาเด็ดใบ 1 กำ
ใบมะกรูด 2 ใบ
ผักชี 1 ต้น
พริกแดง 1 เม็ด
เครื่องปรุงน้ำพริก
พริกแห้ง 5 เม็ด
ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
รากผักชีหั่นละเอียด 2 ช้อนชา
หอม 7 หัว
พริกไทย 5 เม็ด
กระเทียม 3 หัว
เกลือ 1 ช้อนชา
ข่าหั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
กะปิ 1 ช้อนชา
ตะไคร้หั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. โขลกเครื่องน้ำพริกให้ละเอียด
2. ล้างเนื้อหมูไม่ต้องละเอียดมาก ถ้าใช้ไก่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ถ้าใช้ปลาแล่เนื้อหั่นบางๆ หมักเนื้อสัตว์กับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
3. นำมะพร้าวใส่น้ำ 1/2 ถ้วย คั้นให้ได้ 1 1/2 ถ้วย ครั้งที่ 2 ใส่น้ำ 1/2 ถ้วย คั้นให้ได้ 1/2 ถ้วย
4. แบ่งหัวกะทิครั้งที่ 2 ..1 3/4 ถ้วย ใส่แป้งข้าวจ้าว 1 ช้อนชา ตั้งไฟคนพอเดือด ยกลง เก็บไว้หยอดหน้า
5. ละลายหัวกะทิที่เหลือกับน้ำพริกที่เหลือคนให้เข้ากัน ใส่เนื้อหมูคนต่อไป ใส่ไข่ ใส่น้ำปลา และกะทิที่เหลือทีละน้อยจนหมด ใส่ใบโหระพา ผักชี ใบมะกรูดเล็กน้อยคนเข้าด้วยกันจะทำให้หอม
6. ใส่โหระพาที่เหลือ รองก้นกระทง ตักส่วนผสมใส่ให้เต็มกระทงนึ่ง 15 นาที ยกลงหยอดหน้ากะทิ โรยผักชี ใบมะกรูด พริกแดง นึ่งต่ออีก 1 นาทีเปิดฝารังถึง ยกลง
ปูผัดผงกระหรี่
เครื่องปรุง
ปูไข่ 1 ตัว
หอมใหญ่ 1 หัว
ขึ้นฉ่าย 2 ต้น
ต้นหอม 3 ต้น
พริกชี้ฟ้าแดง 2 เม็ด
พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา
ผงกะหรี่ 2 ช้อนชา
นมสด 1/2 ถ้วย
น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ
ไข่ไก่ 1 ฟอง
น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างปูให้สะอาด สับเป็นชิ้น
2. ใส่น้ำมันในในกระทะ พอน้ำมันร้อนใส่ปูลงผัดจนปูสุก จึงใส่ผงกะหรี่
3. ผสมนมสด น้ำพริกเผา และไข่ไก่ตีให้เข้ากัน แล้วเทลงในกระทะ เติมน้ำมันหอย
4. ใส่หอมใหญ่ ขึ้นฉ่าย พริกชี้ฟ้าแดง ต้นหอมหั่น ผัดให้เข้ากันจนสุก โรยพริกไทยป่นตักขึ้นใส่จานเสิร์ฟได้
สูตรอาหารไทย
ปอเปี๊ยะสด
เครื่องปรุงโดยประมาณ สำหรับรับประทาน 2 คน
ส่วนผสมปอเปี๊ยะสด ปริมาณกะเอาเองตามชอบ
1. ปูอัด
2. กุ้งสด
3. อกไก่
4. ผักสลัด
5. แตงกวา
6. แครอท
7. แผ่นปอเปี๊ยะเวียดนาม
หมายเหตุ สำหรับไส้ปอเปี๊ยะเนี่ย จริงๆ แล้วก็ใช้อะไรก็ได้ตามใจคนกินนะคะ ไม่จำเป็นต้องเหมือนที่บอกไว้ข้างบนเป๊ะๆ ถ้าใครชอบพวก กุนเชียง ไส้กรอก เต้าหู้ สะระแหน่ โหระพา ถั่วงอก ไข่เจียว เนื้อปู เส้นขนมจีนฯลฯ ก็ดัดแปลงได้ตามชอบ
วิธีทำ
- ปูอัดผ่าครึ่งตามยาว
- ผักสลัดเด็ดใบแล้วล้างให้สะอาด สะเด็ดน้ำพักไว้
- แตงกวาเอาไ่ส้ออกแล้วหั่นเป็นเส้นตามยาว
- แครอทปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นเส้นตามยาว
- กุ้งแกะเปลือกออกให้หมดแล้วนำไปลวกให้สุก หั่นเป็นชิ้นพอคำ
- อกไก่ล้างให้สะอาด หั่นเป็นเส้นๆ ไม่หนามาก แล้วนำไปลวกให้สุก
1. นำหม้อใส่น้ำตั้งไฟ ใส่เกลือ 1/2 ชช. น้ำตาลทราย 1 ชช. น้ำส้มสายชู 1 ชช. ลงไป ต้มจนเดือดใส่แครอทลงไปลวกประมาณ 1 นาที ใส่แตงกวาแล้วปิดไฟ ตักแตงกวาและแครอทขึ้นสะเด็ดน้ำทันที
2. เมื่อถึงเวลาห่อปอเปี๊ยะสด นำน้ำร้อนใส่ชามอ่างใบใหญ่เตรียมไว้ นำแผ่นปอเปี๊ยะเวียดนามลงผ่านน้ำร้อนประมาณ 5-10 วินาที หรือจนกว่า แผ่นปอเปี๊ยะจะนิ่ม ยกขึ้นจากอ่างน้ำร้อน สะบัดน้ำออก แล้ววางแผ่นปอเปี๊ยะบนเขียง วางผักสลัด / สะระแหน่ / ใบโหระพา ลงบนแผ่นปอเปี๊ยะ ตามด้วยแตงกวา แครอท ปูอัด กุ้ง เนื้อไก่ แล้วม้วนแผ่นปอเปี๊ยะทับไส้ 1 รอบ ตลบด้านข้างซ้าย-ขวาเข้าหากัน แล้วม้วนขึ้นไปด้านบนจนสุดแผ่นแป้งเลย
ส่วนผสมน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน โดยประมาณนะ
1. น้ำตาลทรายแดง 4 ชต.
2. น้ำตาลปี๊บ 4 ชต.
3. น้ำมะขามเปียก 4 ชต.
4. ซีอิ้วดำ 1 ชต.
5. ซีอิ้วขาว 1 ชต.
6. น้ำปลา 1 ชต.
7. น้ำส้มสายชู 1/2 ชต.
8. เกลือ 1/4 ชช.
9. ผงพะโล้ 1/4 ชช.
10. แป้งมัน 1 ชต.
11. น้ำสะอาด 1 ชต. ส่วนผสมข้อ 1-9 ใส่หม้อตั้งไฟอ่อนเคี่ยวไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมข้นเหนียว ละลายแป้งมันกับน้ำแล้วใส่ในหม้อน้ำจิ้ม คนให้เข้ากันดี เคี่ยวต่อไปอีก ประมาณ 1 นาทีแล้วยกลง
ส่วนผสมน้ำจิ้มเผ็ด
1. พริกขึ้หนู
2. กระเทียม
3. น้ำมะนาว
4. น้ำตาลทราย
5. น้ำปลา
นำส่วนผสมทุกอย่างปั่นรวมกันจนละเอียด ชิมรสเปี้ยว เค็ม เผ็ด หวานกลมกล่อม หรือถ้าใครไม่มีเครื่องปั่นก็โขลกกระเทียมกับพริกขี้หนูให้ ละเอียดแล้วเติมน้ำมะนาว น้ำตาลทราย และน้ำปลาลงไปปรุงรสตามชอบ มาดูส่วนผสมโดยประมาณกัน
ส่วนผสม สำหรับ 3 ที่
หอยแมลงภู่ 3/4 ถ้วย
ถั่วงอก 1 1/2 ถ้วย
ซีอิ้วขาว 1/2 ช้อนชา
กระเทียมสับ 1 ช้อนชา
ไข่ไก่ 3 ฟอง
ต้นหอม ผักชี ซอยละเอียด 2 ชต.
แป้งมัน 6 ชต.
แป้งข้าวเจ้า 2 ชต.
น้ำโซดา 125 มล. (ถ้าไม่มีน้ำโซดาก็ใช้น้ำสะอาด 125 มล. แล้วเติมผงฟูไปสัก 1/4 ชช. ก็ได้)
เกลือ 1/4 ช้อนชา
พริกไทย 1/4 ช้อนชา
น้ำมันพืชสำหรับทอด
วิธีทำ
1.เริ่มทำโดยการผสมแป้งมันกับแป้งข้าวเจ้า ใส่พริกไทย เกลือ และน้ำโซดาคนให้เข้ากันดี แล้วนำไปแช่ช่องแข็งไว้ก่อน ระหว่างนั้นก็นำ หอยแมลงภู่ มาล้างให้สะอาด สะเด็ดน้ำทิ้งไว้ ไข่ก็ตีหยาบๆ ไว้ ถั่วงอกก็ล้างให้สะอาด เด็ดหัวกับหาง ส่วนผักชี กับต้นหอมก็ซอยละเอียดเลย
2.เมื่อเตรียมส่วนผสมเรียบร้อยก็เริ่มทำ นำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันลงไป เร่งไฟแรงเลย พอน้ำมันร้อน ตักเกือบๆ 1/3 ของส่วนผสมแป้ง ราดลงบนกระทะ เกลี่ยให้เป็นแผ่นทั่วก้นกระทะ
3.จากนั้นก็โรยหอยแมลงภู่ให้ทั่วแผ่นแป้ง แล้วใส่ต้นหอมผักชีโรยให้ทั่ว ตามด้วย 1/3 ของไข่ที่เราตีไว้ พยายามเกลี่ยไข่ ให้ทั่วแผ่นแป้ง แล้วตักส่วนผสมแป้งสัก 1 ชต. ราดไข่อีกที
4.เมื่อแป้งด้านล่างมีสีเหลืองกรอบดีแล้วก็กลับด้าน ทอดให้กรอบเหมือนๆ กันทั้งสองด้าน
5.เจียวกระเทียมให้หอมแล้วใส่ถั่วงอกกับซีอิ้วขาวลงผัดพอผักสลด แล้วจึงตักถั่วงอกใส่จานที่จะใช้เสิร์ฟแล้วตักหอยทอดวางไว้ข้างบน เสิร์ฟพร้อมกับซอสพริกผสม น้ำจิ้มไก่และน้ำต้มสุกเล็กน้อย
ขนมจีน-น้ำยาไก่
เครื่องปรุง (โดยประมาณ)
1. ไก่ เราใช้สะโพกติดน่อง 2 ชิ้น
2. พริกแห้ง 10 เม็ด
3. หอมแดง 4 หัว
4. ข่า 5 แว่น
5. กระชาย 2 แง่ง
6. ตะไคร้ 1 ต้น
7. ใบมะกรูด 6-7 ใบ
8. น้ำสะอาด 2 ถ้วย
9. กะทิ 1/2 ถ้วย
10. พริกแกงเผ็ด 1/2 ช้อนโต๊ะ
11. เกลือ น้ำปลา น้ำตาลทราย
12. ขนมจีน
13. ไข่ต้ม ผักตามชอบ เช่น ผักกาดดอง, ถั่วฝักยาว, ถั่วงอก, กะหล่ำปลี, ใบโหระพา ฯลฯ
วิธีทำ
1. หอมแดงปอกเปลือกออก กระชายและตะไคร้หั่นท่อนแล้วทุบให้แตก ใบมะกรูดล้างให้สะอาด ส่วนไก่ก็ล้างให้สะอาด แล้วสับน่อง กับสะโพกออกจากกัน ได้ชิ้นไก่ 4 ชิ้น พักไว้ก่อน
2. จากนั้นก็นำน้ำสะอาดใส่หม้อขนาดกลาง นำหม้อตั้งไฟจนเดือดแล้วจึงใส่พริกแห้ง หอมแดง ข่า กระชาย ตะไคร้ ใบมะกรูด และ เกลือประมาณ 1/2 ชช. ลงไป ต้มไฟกลางไปเรื่อยๆ จนไก่สุกเปื่อยดี
3. เมื่อไก่สุกดีแล้วก็ปิดไฟ ตักพริกแห้ง หอมแดง ข่า กระชาย ตะไคร้ และใบมะกรูดออกจากหม้อ สะเด็ดน้ำพักไว้ ส่วนชิ้นไก่ก็ตัก ออกมาแล้วแกะเอาแต่เนื้อ กระดูกก็ทิ้งไป โขลกพริกแห้ง หอมแดง ข่า และกระชายรวมกัน ไม่ต้องละเอียดนะ เอาแค่หยาบๆ ก็พอ (อ้อ...อย่าลืมเก็บน้ำซุปไว้ด้วยนะ)
4. ใส่กะทิลงในหม้ออีกใบ นำขึ้นตั้งไฟแล้วใส่พริกแกงเผ็ด และเครื่องที่โขลกลงไปผัดรวมกันจนหอม แล้วจึงใส่เนื้อไก่ ตะไคร้ และใบมะกรูด ผัดให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำซุปที่เก็บไว้ลงไปประมาณ 1 ถ้วย ต้มต่อไปจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่น้ำตาลทราย นิดหน่อยเพื่อรสชาติที่กลมกล่อม ชิมรสตามชอบแล้วปิดไฟ เสร็จเรียบร้อย
ข้าวต้มกุ้งปลาหมึก
วันไหนตื่นสายกว่าปกติ ตื่นขึ้นมาก็หิวมากๆ เดินเข้าครัวก็ไม่มีอะไรกิน เลยต้อง ทำอะไรที่มันไม่ยุ่งยากมาก ก็ได้นี่เลย ข้าวต้มกุ้ง-ปลาหมึก แสนอร่อย
เครื่องปรุงก็มีไม่มาก ตามนี้เลย
1. ข้าวสวย
2. น้ำซุป
3. กุ้ง ปลาหมึก
4. กระเทียมเจียว
5. น้ำส้มพริกดอง
6. น้ำปลา ซีอิ้วขาว
7. น้ำตาล
8. ตั้งฉ่าย
9. ต้นหอม ผักชี ไว้โรยหน้า
วิธีทำ
1. ต้มข้าวสวยกับน้ำซุปจนเดือดประมาณ 5 นาที
2. ใส่น้ำปลา ซีอิ้วขาว น้ำตาล ตั้งฉ่าย น้ำส้มสายชู ปลาหมึกและกุ้ง ลดไฟกลางต้มต่ออีกสัก 5 นาที
3. ใส่กระเทียมเจียว ชิมรสตามชอบ ตักเสิร์ฟแล้วโรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชี
ห่อหมกพริกหยวก
ส่วนผสม
1. พริกหยวก 7-8 เม็ด
2. เนื้อปลาสับละเอียด 1 1/2 ถ.(ใช้ปลาอะไรก็ได้ เช่นใช้ทูน่ากระป๋อง)
3. กะทิ 1 ถ.
4. มะพร้าวขูด 1/4 ถ.
5. ไข่ 1 ฟอง
6. พริกแกงเผ็ด 2 ชต.
7. น้ำปลา 1-2 ชต.
8. น้ำตาลทราย 1/2 ชช.
9. แป้งข้าวจ้าว 1 ชต.
10. เกลือ 1 หยิบมือ
11. ใบมะกรูดหั่นฝอย, พริกชี้ฟ้าแดงหั่นเส้น เอาไว้โรยหน้า
วิธีทำ
1. นำพริกหยวกมาล้างให้สะอาด กรีดตามยาว เอาไส้ออกให้หมด พักไว้ก่อน
2. นำเนื้อปลาสับใส่ชามผสม ใส่พริกแกงกับน้ำปลาลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน แบ่งกะทิมา 3/4 ถ้วย ค่อยๆ เทใส่ลงไปคนให้เข้ากับ ส่วนผสมอื่น
3. จากนั้นใส่มะพร้าวขูดและไข่ลงไป เมื่อผสมเข้ากันดีแล้ว ตักส่วนผสมประมาณ 1 ชช. ใส่ชามทนไฟเข้าเวฟไฟแรงสัก 10-15 วินาที พอสุก ชิมรสดู ถ้ารสชาติยังไม่เป็นที่พอใจก็ปรุงรสเพิ่มตามชอบ
4. นำส่วนผสมมายัดไส้พริกหยวกที่เตรียมไว้ให้เต็ม นึ่งไฟแรงประมาณ 5-6 นาที แล้วราดหน้าด้วยกะทิ แต่งด้วยใบมะกรูดหั่นฝอย และพริกชี้ฟ้า ที่ซอยไว้นึ่งต่ออีก 2 นาที ก็เรียบร้อย
วิธีทำกะทิราดหน้า
นำกะทิ 1/4 ถ. ที่แบ่งไว้มาใส่หม้อใบเล็กๆ ใส่เกลือไปหนึ่งหยิบมือ นำขึ้นตั้งไฟ เอาแป้งข้าวจ้าวมาละลายน้ำ พอกะทิเดือดก็ใส่แป้ง ข้าวจ้าวลงไปใช้ตะกร้อมือคนตลอดเวลาสัก 10 วินาที ก็นำไปราดหน้าห่อหมกได้เลย
เต้าหู้ทรงเครื่อง
เต้าหู้ทรงเครื่องอาหารจานโปรดของผู้ที่ชอบเต้าหู้ลองทำดูนะ
เต้าหู้ไข่หรือเต้าหู้ขาว(ชนิดอ่อน) 200 กรัม
แป้งโกกิ 1/2 ถ.
น้ำสะอาด 1/4 ถ.
น้ำมันพืชสำหรับทอด
กุ้งสด 5-6 ตัว
ปูอัด 4 แท่ง
เห็ดหอม 4 ดอก
กระเทียมกลีบใหญ่ 1 กลีบ
แครอท 1 หัวเล็ก
เมล็ดถั่วลันเตา 1/4 ถ.
พริกไทยเม็ด 5 เม็ด
ซีอิ้วขาว 1 ชต.
น้ำมันหอย 1 ชต.
น้ำมันงา 1/2 ชช.
น้ำซุป 1/4 ถ.
น้ำตาลทราย 1/4 ชช.
แป้งข้าวโพด 1/4 ชช.
ต้นหอม 2 ต้น
เครื่องปรุง
เนื้อหมูหรือไก่หรือปลา 300 กรัม
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
มะพร้าว 400 กรัม
ไข่ 1 ฟอง
ใบโหระพาเด็ดใบ 1 กำ
ใบมะกรูด 2 ใบ
ผักชี 1 ต้น
พริกแดง 1 เม็ด
เครื่องปรุงน้ำพริก
พริกแห้ง 5 เม็ด
ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
รากผักชีหั่นละเอียด 2 ช้อนชา
หอม 7 หัว
พริกไทย 5 เม็ด
กระเทียม 3 หัว
เกลือ 1 ช้อนชา
ข่าหั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
กะปิ 1 ช้อนชา
ตะไคร้หั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. โขลกเครื่องน้ำพริกให้ละเอียด
2. ล้างเนื้อหมูไม่ต้องละเอียดมาก ถ้าใช้ไก่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ถ้าใช้ปลาแล่เนื้อหั่นบางๆ หมักเนื้อสัตว์กับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
3. นำมะพร้าวใส่น้ำ 1/2 ถ้วย คั้นให้ได้ 1 1/2 ถ้วย ครั้งที่ 2 ใส่น้ำ 1/2 ถ้วย คั้นให้ได้ 1/2 ถ้วย
4. แบ่งหัวกะทิครั้งที่ 2 ..1 3/4 ถ้วย ใส่แป้งข้าวจ้าว 1 ช้อนชา ตั้งไฟคนพอเดือด ยกลง เก็บไว้หยอดหน้า
5. ละลายหัวกะทิที่เหลือกับน้ำพริกที่เหลือคนให้เข้ากัน ใส่เนื้อหมูคนต่อไป ใส่ไข่ ใส่น้ำปลา และกะทิที่เหลือทีละน้อยจนหมด ใส่ใบโหระพา ผักชี ใบมะกรูดเล็กน้อยคนเข้าด้วยกันจะทำให้หอม
6. ใส่โหระพาที่เหลือ รองก้นกระทง ตักส่วนผสมใส่ให้เต็มกระทงนึ่ง 15 นาที ยกลงหยอดหน้ากะทิ โรยผักชี ใบมะกรูด พริกแดง นึ่งต่ออีก 1 นาทีเปิดฝารังถึง ยกลง
ปูผัดผงกระหรี่
เครื่องปรุง
ปูไข่ 1 ตัว
หอมใหญ่ 1 หัว
ขึ้นฉ่าย 2 ต้น
ต้นหอม 3 ต้น
พริกชี้ฟ้าแดง 2 เม็ด
พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา
ผงกะหรี่ 2 ช้อนชา
นมสด 1/2 ถ้วย
น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ
ไข่ไก่ 1 ฟอง
น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างปูให้สะอาด สับเป็นชิ้น
2. ใส่น้ำมันในในกระทะ พอน้ำมันร้อนใส่ปูลงผัดจนปูสุก จึงใส่ผงกะหรี่
3. ผสมนมสด น้ำพริกเผา และไข่ไก่ตีให้เข้ากัน แล้วเทลงในกระทะ เติมน้ำมันหอย
4. ใส่หอมใหญ่ ขึ้นฉ่าย พริกชี้ฟ้าแดง ต้นหอมหั่น ผัดให้เข้ากันจนสุก โรยพริกไทยป่นตักขึ้นใส่จานเสิร์ฟได้
สูตรอาหารไทย
ปอเปี๊ยะสด
เครื่องปรุงโดยประมาณ สำหรับรับประทาน 2 คน
ส่วนผสมปอเปี๊ยะสด ปริมาณกะเอาเองตามชอบ
1. ปูอัด
2. กุ้งสด
3. อกไก่
4. ผักสลัด
5. แตงกวา
6. แครอท
7. แผ่นปอเปี๊ยะเวียดนาม
หมายเหตุ สำหรับไส้ปอเปี๊ยะเนี่ย จริงๆ แล้วก็ใช้อะไรก็ได้ตามใจคนกินนะคะ ไม่จำเป็นต้องเหมือนที่บอกไว้ข้างบนเป๊ะๆ ถ้าใครชอบพวก กุนเชียง ไส้กรอก เต้าหู้ สะระแหน่ โหระพา ถั่วงอก ไข่เจียว เนื้อปู เส้นขนมจีนฯลฯ ก็ดัดแปลงได้ตามชอบ
วิธีทำ
- ปูอัดผ่าครึ่งตามยาว
- ผักสลัดเด็ดใบแล้วล้างให้สะอาด สะเด็ดน้ำพักไว้
- แตงกวาเอาไ่ส้ออกแล้วหั่นเป็นเส้นตามยาว
- แครอทปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นเส้นตามยาว
- กุ้งแกะเปลือกออกให้หมดแล้วนำไปลวกให้สุก หั่นเป็นชิ้นพอคำ
- อกไก่ล้างให้สะอาด หั่นเป็นเส้นๆ ไม่หนามาก แล้วนำไปลวกให้สุก
1. นำหม้อใส่น้ำตั้งไฟ ใส่เกลือ 1/2 ชช. น้ำตาลทราย 1 ชช. น้ำส้มสายชู 1 ชช. ลงไป ต้มจนเดือดใส่แครอทลงไปลวกประมาณ 1 นาที ใส่แตงกวาแล้วปิดไฟ ตักแตงกวาและแครอทขึ้นสะเด็ดน้ำทันที
2. เมื่อถึงเวลาห่อปอเปี๊ยะสด นำน้ำร้อนใส่ชามอ่างใบใหญ่เตรียมไว้ นำแผ่นปอเปี๊ยะเวียดนามลงผ่านน้ำร้อนประมาณ 5-10 วินาที หรือจนกว่า แผ่นปอเปี๊ยะจะนิ่ม ยกขึ้นจากอ่างน้ำร้อน สะบัดน้ำออก แล้ววางแผ่นปอเปี๊ยะบนเขียง วางผักสลัด / สะระแหน่ / ใบโหระพา ลงบนแผ่นปอเปี๊ยะ ตามด้วยแตงกวา แครอท ปูอัด กุ้ง เนื้อไก่ แล้วม้วนแผ่นปอเปี๊ยะทับไส้ 1 รอบ ตลบด้านข้างซ้าย-ขวาเข้าหากัน แล้วม้วนขึ้นไปด้านบนจนสุดแผ่นแป้งเลย
ส่วนผสมน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน โดยประมาณนะ
1. น้ำตาลทรายแดง 4 ชต.
2. น้ำตาลปี๊บ 4 ชต.
3. น้ำมะขามเปียก 4 ชต.
4. ซีอิ้วดำ 1 ชต.
5. ซีอิ้วขาว 1 ชต.
6. น้ำปลา 1 ชต.
7. น้ำส้มสายชู 1/2 ชต.
8. เกลือ 1/4 ชช.
9. ผงพะโล้ 1/4 ชช.
10. แป้งมัน 1 ชต.
11. น้ำสะอาด 1 ชต. ส่วนผสมข้อ 1-9 ใส่หม้อตั้งไฟอ่อนเคี่ยวไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมข้นเหนียว ละลายแป้งมันกับน้ำแล้วใส่ในหม้อน้ำจิ้ม คนให้เข้ากันดี เคี่ยวต่อไปอีก ประมาณ 1 นาทีแล้วยกลง
ส่วนผสมน้ำจิ้มเผ็ด
1. พริกขึ้หนู
2. กระเทียม
3. น้ำมะนาว
4. น้ำตาลทราย
5. น้ำปลา
นำส่วนผสมทุกอย่างปั่นรวมกันจนละเอียด ชิมรสเปี้ยว เค็ม เผ็ด หวานกลมกล่อม หรือถ้าใครไม่มีเครื่องปั่นก็โขลกกระเทียมกับพริกขี้หนูให้ ละเอียดแล้วเติมน้ำมะนาว น้ำตาลทราย และน้ำปลาลงไปปรุงรสตามชอบ มาดูส่วนผสมโดยประมาณกัน
ส่วนผสม สำหรับ 3 ที่
หอยแมลงภู่ 3/4 ถ้วย
ถั่วงอก 1 1/2 ถ้วย
ซีอิ้วขาว 1/2 ช้อนชา
กระเทียมสับ 1 ช้อนชา
ไข่ไก่ 3 ฟอง
ต้นหอม ผักชี ซอยละเอียด 2 ชต.
แป้งมัน 6 ชต.
แป้งข้าวเจ้า 2 ชต.
น้ำโซดา 125 มล. (ถ้าไม่มีน้ำโซดาก็ใช้น้ำสะอาด 125 มล. แล้วเติมผงฟูไปสัก 1/4 ชช. ก็ได้)
เกลือ 1/4 ช้อนชา
พริกไทย 1/4 ช้อนชา
น้ำมันพืชสำหรับทอด
วิธีทำ
1.เริ่มทำโดยการผสมแป้งมันกับแป้งข้าวเจ้า ใส่พริกไทย เกลือ และน้ำโซดาคนให้เข้ากันดี แล้วนำไปแช่ช่องแข็งไว้ก่อน ระหว่างนั้นก็นำ หอยแมลงภู่ มาล้างให้สะอาด สะเด็ดน้ำทิ้งไว้ ไข่ก็ตีหยาบๆ ไว้ ถั่วงอกก็ล้างให้สะอาด เด็ดหัวกับหาง ส่วนผักชี กับต้นหอมก็ซอยละเอียดเลย
2.เมื่อเตรียมส่วนผสมเรียบร้อยก็เริ่มทำ นำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันลงไป เร่งไฟแรงเลย พอน้ำมันร้อน ตักเกือบๆ 1/3 ของส่วนผสมแป้ง ราดลงบนกระทะ เกลี่ยให้เป็นแผ่นทั่วก้นกระทะ
3.จากนั้นก็โรยหอยแมลงภู่ให้ทั่วแผ่นแป้ง แล้วใส่ต้นหอมผักชีโรยให้ทั่ว ตามด้วย 1/3 ของไข่ที่เราตีไว้ พยายามเกลี่ยไข่ ให้ทั่วแผ่นแป้ง แล้วตักส่วนผสมแป้งสัก 1 ชต. ราดไข่อีกที
4.เมื่อแป้งด้านล่างมีสีเหลืองกรอบดีแล้วก็กลับด้าน ทอดให้กรอบเหมือนๆ กันทั้งสองด้าน
5.เจียวกระเทียมให้หอมแล้วใส่ถั่วงอกกับซีอิ้วขาวลงผัดพอผักสลด แล้วจึงตักถั่วงอกใส่จานที่จะใช้เสิร์ฟแล้วตักหอยทอดวางไว้ข้างบน เสิร์ฟพร้อมกับซอสพริกผสม น้ำจิ้มไก่และน้ำต้มสุกเล็กน้อย
ขนมจีน-น้ำยาไก่
เครื่องปรุง (โดยประมาณ)
1. ไก่ เราใช้สะโพกติดน่อง 2 ชิ้น
2. พริกแห้ง 10 เม็ด
3. หอมแดง 4 หัว
4. ข่า 5 แว่น
5. กระชาย 2 แง่ง
6. ตะไคร้ 1 ต้น
7. ใบมะกรูด 6-7 ใบ
8. น้ำสะอาด 2 ถ้วย
9. กะทิ 1/2 ถ้วย
10. พริกแกงเผ็ด 1/2 ช้อนโต๊ะ
11. เกลือ น้ำปลา น้ำตาลทราย
12. ขนมจีน
13. ไข่ต้ม ผักตามชอบ เช่น ผักกาดดอง, ถั่วฝักยาว, ถั่วงอก, กะหล่ำปลี, ใบโหระพา ฯลฯ
วิธีทำ
1. หอมแดงปอกเปลือกออก กระชายและตะไคร้หั่นท่อนแล้วทุบให้แตก ใบมะกรูดล้างให้สะอาด ส่วนไก่ก็ล้างให้สะอาด แล้วสับน่อง กับสะโพกออกจากกัน ได้ชิ้นไก่ 4 ชิ้น พักไว้ก่อน
2. จากนั้นก็นำน้ำสะอาดใส่หม้อขนาดกลาง นำหม้อตั้งไฟจนเดือดแล้วจึงใส่พริกแห้ง หอมแดง ข่า กระชาย ตะไคร้ ใบมะกรูด และ เกลือประมาณ 1/2 ชช. ลงไป ต้มไฟกลางไปเรื่อยๆ จนไก่สุกเปื่อยดี
3. เมื่อไก่สุกดีแล้วก็ปิดไฟ ตักพริกแห้ง หอมแดง ข่า กระชาย ตะไคร้ และใบมะกรูดออกจากหม้อ สะเด็ดน้ำพักไว้ ส่วนชิ้นไก่ก็ตัก ออกมาแล้วแกะเอาแต่เนื้อ กระดูกก็ทิ้งไป โขลกพริกแห้ง หอมแดง ข่า และกระชายรวมกัน ไม่ต้องละเอียดนะ เอาแค่หยาบๆ ก็พอ (อ้อ...อย่าลืมเก็บน้ำซุปไว้ด้วยนะ)
4. ใส่กะทิลงในหม้ออีกใบ นำขึ้นตั้งไฟแล้วใส่พริกแกงเผ็ด และเครื่องที่โขลกลงไปผัดรวมกันจนหอม แล้วจึงใส่เนื้อไก่ ตะไคร้ และใบมะกรูด ผัดให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำซุปที่เก็บไว้ลงไปประมาณ 1 ถ้วย ต้มต่อไปจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่น้ำตาลทราย นิดหน่อยเพื่อรสชาติที่กลมกล่อม ชิมรสตามชอบแล้วปิดไฟ เสร็จเรียบร้อย
ข้าวต้มกุ้งปลาหมึก
วันไหนตื่นสายกว่าปกติ ตื่นขึ้นมาก็หิวมากๆ เดินเข้าครัวก็ไม่มีอะไรกิน เลยต้อง ทำอะไรที่มันไม่ยุ่งยากมาก ก็ได้นี่เลย ข้าวต้มกุ้ง-ปลาหมึก แสนอร่อย
เครื่องปรุงก็มีไม่มาก ตามนี้เลย
1. ข้าวสวย
2. น้ำซุป
3. กุ้ง ปลาหมึก
4. กระเทียมเจียว
5. น้ำส้มพริกดอง
6. น้ำปลา ซีอิ้วขาว
7. น้ำตาล
8. ตั้งฉ่าย
9. ต้นหอม ผักชี ไว้โรยหน้า
วิธีทำ
1. ต้มข้าวสวยกับน้ำซุปจนเดือดประมาณ 5 นาที
2. ใส่น้ำปลา ซีอิ้วขาว น้ำตาล ตั้งฉ่าย น้ำส้มสายชู ปลาหมึกและกุ้ง ลดไฟกลางต้มต่ออีกสัก 5 นาที
3. ใส่กระเทียมเจียว ชิมรสตามชอบ ตักเสิร์ฟแล้วโรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชี
ห่อหมกพริกหยวก
ส่วนผสม
1. พริกหยวก 7-8 เม็ด
2. เนื้อปลาสับละเอียด 1 1/2 ถ.(ใช้ปลาอะไรก็ได้ เช่นใช้ทูน่ากระป๋อง)
3. กะทิ 1 ถ.
4. มะพร้าวขูด 1/4 ถ.
5. ไข่ 1 ฟอง
6. พริกแกงเผ็ด 2 ชต.
7. น้ำปลา 1-2 ชต.
8. น้ำตาลทราย 1/2 ชช.
9. แป้งข้าวจ้าว 1 ชต.
10. เกลือ 1 หยิบมือ
11. ใบมะกรูดหั่นฝอย, พริกชี้ฟ้าแดงหั่นเส้น เอาไว้โรยหน้า
วิธีทำ
1. นำพริกหยวกมาล้างให้สะอาด กรีดตามยาว เอาไส้ออกให้หมด พักไว้ก่อน
2. นำเนื้อปลาสับใส่ชามผสม ใส่พริกแกงกับน้ำปลาลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน แบ่งกะทิมา 3/4 ถ้วย ค่อยๆ เทใส่ลงไปคนให้เข้ากับ ส่วนผสมอื่น
3. จากนั้นใส่มะพร้าวขูดและไข่ลงไป เมื่อผสมเข้ากันดีแล้ว ตักส่วนผสมประมาณ 1 ชช. ใส่ชามทนไฟเข้าเวฟไฟแรงสัก 10-15 วินาที พอสุก ชิมรสดู ถ้ารสชาติยังไม่เป็นที่พอใจก็ปรุงรสเพิ่มตามชอบ
4. นำส่วนผสมมายัดไส้พริกหยวกที่เตรียมไว้ให้เต็ม นึ่งไฟแรงประมาณ 5-6 นาที แล้วราดหน้าด้วยกะทิ แต่งด้วยใบมะกรูดหั่นฝอย และพริกชี้ฟ้า ที่ซอยไว้นึ่งต่ออีก 2 นาที ก็เรียบร้อย
วิธีทำกะทิราดหน้า
นำกะทิ 1/4 ถ. ที่แบ่งไว้มาใส่หม้อใบเล็กๆ ใส่เกลือไปหนึ่งหยิบมือ นำขึ้นตั้งไฟ เอาแป้งข้าวจ้าวมาละลายน้ำ พอกะทิเดือดก็ใส่แป้ง ข้าวจ้าวลงไปใช้ตะกร้อมือคนตลอดเวลาสัก 10 วินาที ก็นำไปราดหน้าห่อหมกได้เลย
เต้าหู้ทรงเครื่อง
เต้าหู้ทรงเครื่องอาหารจานโปรดของผู้ที่ชอบเต้าหู้ลองทำดูนะ
เต้าหู้ไข่หรือเต้าหู้ขาว(ชนิดอ่อน) 200 กรัม
แป้งโกกิ 1/2 ถ.
น้ำสะอาด 1/4 ถ.
น้ำมันพืชสำหรับทอด
กุ้งสด 5-6 ตัว
ปูอัด 4 แท่ง
เห็ดหอม 4 ดอก
กระเทียมกลีบใหญ่ 1 กลีบ
แครอท 1 หัวเล็ก
เมล็ดถั่วลันเตา 1/4 ถ.
พริกไทยเม็ด 5 เม็ด
ซีอิ้วขาว 1 ชต.
น้ำมันหอย 1 ชต.
น้ำมันงา 1/2 ชช.
น้ำซุป 1/4 ถ.
น้ำตาลทราย 1/4 ชช.
แป้งข้าวโพด 1/4 ชช.
ต้นหอม 2 ต้น
วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง
ประวัติหลวงปู่สุข
พระครูภาวนาภิมณฑ์ (หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต)วัดโพธิ์ทรายทอง ตำบลละหานทรายอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ชาติกำเนิด พระครูภาวนาภิมณฑ์ หรือหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เดิมชื่อ สุข นามสกุล ยอดเยี่ยมแกร เป็นบุตรของ นายโฮ และนางแฮม ยอดเยี่ยมแกร อาชีพทำนา ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๒๑ แรม ๕ ค่ำ ปีเถาะ เกิดที่บ้านละหานทราย หมู่ที่ ๒ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตจำนวน ๖ คน หลวงปู่สุขเป็นคน ที่ ๔ มีรายนามดังต่อไปนี้๑.นายหีบ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๒.นายเต็บ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๓.นายเกต ยอมเยี่ยมแกร เสียชีวิต๔.หลวงปู่สุข มรณภาพ ๓๑ธ.ค.๒๕๑๕๕.นายแป๊ะ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๖.นางอ้ม ยอดเยียมแกร เสียชีวิตการศึกษา ในสมัยนั้นการเรียนหนังสือต้องอาศัยวัด อำเภอละหานทราย ยังเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ในป่าดงพงพี ถนนหนทางก็ไม่สะดวก เด็กชายสุข เรียนหนังสือขอมที่วัดโพธิ์ทรายทอง จนสามารถ อ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ทรายทอง บรรพชาอยู่ได้ ๕ พรรษาการอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทรายทองตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีกุน มีเจ้าอธิการนิ่ม วัดสายน้ำไหล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลิ่น เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการเกิดเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโชโต” แปลว่า แสงสว่างแห่งธรรม เมื่อหลวงปู่สุขท่านอุปสมบทท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทรายทอง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรมแต่ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งเป็นภาษาขอม จนมีความรู้ แตกฉานสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่วัดโพธิ์ทรายทองจนแตกฉานดีแล้ว ท่านก็ตั้งใจที่จะออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวก เพราะหลวงปู่เห็นว่า การที่เล่าเรียนเฉพาะพระธรรมวินัยภายในวัดแต่เพียงอย่างเดียว มันเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ไม่ก่อประโยชน์แก่ตัวเองมากนัก ท่านจึงตัดสินใจออกเดินธุดงค์ไปกลายแห่ง ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้เรียนกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และด้านพระเวทย์วิทยาคมต่าง ๆ ท่านได้ศึกษากับ พระอาจารย์อินทร์ ภิกษุชาวเขมรซึ่งได้ธุดงค์มาจาก เมืองศรีโสภณ และได้มาสร้าง วัดหนองติม อยู่ในเขต อ.ตาพระยา ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับ จังหวัดปราจีนบุรี หลวงปู่สุขท่านได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานและก็สมถภาวนาอยู่เป็นประจำ ปฏิบัติธรรมด้วยความเคร่งครัดจนชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ท่านสำเร็จถึงขั้น “อภิญญา” ด้วยวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ความสำเร็จทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้ขาวบ้านเล่ากันปากต่อปาก ถึงกับมีผู้เสื่อมใสหลวงปู่ ในหลายจังหวัดเดินทางมากราบมนัสการและสนทนาธรรมอยู่อย่างเนืองนิตย์ถนนหนทางในสมัยนั้น การคมนาคมยังไม่เจริญเท่าทุกวันนี้ บางคน บางคณะอาจต้องค้างแรมกันหลายคืนทั้งยังบุกป่าฝ่าดงเผชิญกับสัตว์ป่าดุร้ายมากมาย แต่กลุ่มผู้ศรัทธาก็ไม่ยอมย่อท้อ ต่อความยากลำบาก เดินทางมาจนถึงตัวท่านให้ท่านเป่ากระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บาง เพื่อความเป็นสิริมงคลตำแหน่ง และสมณศักดิ์ (ประวัติการปกครอง)พ.ศ. ๒๕๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทรายทอง(เป็นเจ้าอาวาส ๓๓ ปี)พ.ศ. ๒๕๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบลละหานทรายพ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์พ.ศ. ๒๕๑๕ มรณภาพ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕) รวมสิริอายุได้ ๙๕ ปีวัดโพธิ์ทรายทองเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ สมัยยุคต้นรัตนโกสินทร์วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ศึกษาพระธรรมวินัย จากคัมภีร์ตำราตัวอักษรขอมและบาลีมีความรู้แตกฉานเชี่ยวชาญ หลวงปู่สุขได้ศึกษาเล่าเรียนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก หลวงปู่มั่นภูริทัตโต พระอริยสงฆ์ ผู้นำกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานแห่งภาคอีสาน ซึ่งกล่าวกันว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสำเร็จอรหันต์ เป็นอาจารย์ใหญ่ของพระป่า สายธรรมยุติกิจวัตรประจำที่หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ถือปฏิบัติเป็นนิจ(ปฏิปทาพิเศษ)๑. เจริญสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นวัตรปฏิบัติประจำเนื่องนิจ โดยกำหนดองค์ “ภาวนา” ทุกลมหายใจเข้าออก และทุกอิริยาบถ อาทิเช่น๑.๑ การสวดมนต์ภาวนา และลงพระอุโบสถไม่เคยขาด๑.๒ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะฉันอาหาร ห่มจีวร สรงน้ำ เดิน นั่ง นอนจะต้องสวดภาวนากำหนดสมาธิ มีสติกำกับก่อนทุกครั้ง๑.๓ เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นระยะเวลานาน ๆ ๑๐ – ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหาร เว้นน้ำดื่มและห้ามไม่ให้ใครรบกวน๒. ท่านอยู่อย่างสันโดษ คือ เรียบง่าย เจริญตามแนวทางพระธรรมวินัย ละกิเลส เจริญปัญญา รู้แจ้ง เห็นจริง ในเรื่องกายและจิตอาทิเช่น ๒.๑ การอยู่อย่างสมถะฉันง่าย ไม่ยินดีในเรื่องรสชาติของอาหารบิณฑบาต ได้อะไรมาก็ฉันอย่างนั้นอยู่ง่าย ไม่สนใจในเรื่องความสะดวกสบาย อดทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะร้อน จะหนาว ไม่เคยใช้รองเท้า และสบู่ฟอกตัว๒.๒ ไม่สนใจในทรัพย์สิน และไทยทาน เงินทองหรือปิยภัณฑ์ใด ๆ ที่ได้รับมอบถวาย ไม่เคยเก็บสะสมเอาไว้เป็นสมบัติส่วนตัว และไม่เคยสนใจว่าใครจะหยิบฉวยเอาไป ใครอยากได้ก็ยินดีมอบให้เสมอไม่เคยหวงไม่เคยนับและถือจ่ายเงินเลย๒.๓ ไม่สนใจในลาภยศ ท่านเป็นพระป่าบ้านนอก เคร่งในพระธรรมวินัย มุ่งปฏิบัติเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสมาธิจิตสูงยิ่ง ไม่ยินดีในลาภยศสรรเสริญ ไม่แสวงหายศถาบรรดาศักดิ์เป็นพระสงฆ์สุปัฏิปันโน มักน้อย รักสันโดษ ถึงแม้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์ ท่านก็ไม่สนใจ ท่านเพียงแต่กล่าวว่า “ก็ข้าเป็นพระแล้วจะให้ข้าเป็นอะไรอีก”๓. มีเมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นรับนิมนต์โดยไม่เคยรังเกียจเดียดฉันท์ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไร ระยะทางจะไกลหรือใกล้๔. มีขันติ และวิริยะสูง ท่านเคร่งในวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีความเพียรพยายาม อุตสาหะ อดทนในการฝึกจิต สำรวจกายทุกลมหายใจเข้าออก นั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นระยะเวลานาน ๆ บางครั้งนั่งวิปัสสนากัมมัฎฐานถึง ๑๕ วัน โดยไม่ฉัน ท่านมีสมาธิจิตขั้นสูงสำเร็จ “อภิญญา”๕. ท่านมีความอดทนเป็นเลิศ แม้ยามเจ็บป่วย (อาพาธ) ไม่เคยปริปาก หรือบ่นให้ใครรู้ท่านล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้า ในวันสารท แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุล่วงได้ ๙๕ ปี หลวงปู่ได้หกล้ม ทำให้กระดูกต้นขาของท่านหลุดจากสะโพก ท่านทราบว่ากาลมรณสังขารใกล้สิ้นสุดแล้ว ท่านก็ไม่ปริปากบอกใครให้ทราบถึงอาการ เจ็บป่วยของท่านนั้นรักษาไม่หายหรอก มันเป็นเรื่องของสังขารเพราะท่านจะมรณภาพแล้ว ตลอดเวลาที่ท่านเจ็บป่วย ท่านไม่เคยโอดครวญหรือแสดงกิริยาอาการเจ็บปวดให้ใครเห็น ท่านใช้ขันติ และพิจารณาสังขารของท่านในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต๖. การถือธุดงค์วัตร เมื่อยามที่ท่านยังแข็งแรงอายุยังไม่สูงวัย ท่านถือธุดงค์วัตรเป็นนิจโดยท่านจะเดินธุดงค์หลังจากออกพรรษาแล้ว ไปประเทศเขมรผ่านทางวัดหนองติม อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อบำเพ็ญจิตและศึกษาวิชาเพิ่มเติม การเดินทางของท่านเป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะท่านเดินทางได้เร็วมาก มีผู้กล่าวว่าท่านสำเร็จวิชาย่นระยะทางไป – กลับ ได้ภายในวันเดียว๗. การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในด้านสืบสานพระพุทะศาสนา ท่านจะเคร่งในวัตรปฏิบัติจะนำพุทธศาสนิกชนทำบุญและถืออุโบสถศีลทุกวันพระ อบรมธรรม และฝึกฝนจิตด้านสมถกัมมัฏฐานให้กับพุทธบริษัท หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ท่านนิยมสอนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับบุคคลโดยทั่วไป ผู้ถือศีล สามเณร และพระภิกษุ โดยท่านจะให้ผู้ขอขึ้นกัมฏฐานกับท่านใช้องค์ภาวนาและใช้คาถา “อะ อา แอ๊ก ไอ นะ นู เน นิ นัง” ซึ่งเป็นภาษาเขมรการรับกิจนิมนต์ไปพุทธาภิเษกวัตถุมงคล เพื่อหาเงินสร้างวัดของ วัดป่าธรรมธีราราม (วัดป่าหลังโรงเลื่อย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยรับนิมนต์ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสารามแขวงบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ปลุกเสกวัตถุมงคลรูปหล่อบูชารุ่นแรก และพระรูปเหมือนขนาด ๑ เซนติเมตร ณ หอสมุดกรมหลวงพระปรมานุชิตชิโนรส วัดชิโนรสาราม ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ก่อนท่านมรณภาพ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เป็นพระอริยสงฆ์ สุปฏิปันโน มีวัตรปฏิบัติที่งดงามสมเป็น “พระแท้” อย่างแท้งจริงสมควรค่าแก่การกราบไหว้บูชา ท่านเคร่งในพระธรรมวินัยถือการปฏิบัติ เจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดองค์ภาวนาทุกลมหายใจเข้า ออก ท่านสำเร็จญาณสมาบัติขั้นสูงเรียกว่า “อภิญญา”อภิญญา คือ ความรู้ชั้นสูงในพุทธศาสนา ซึ่งได้จากการปฏิบัติทางด้านวิปัสสนาธุระ มีอยู่ ๖ ประการด้วยกันคือ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้๒. ทิพยโสต หูทิพย์๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด รู้ใจผู้อื่น๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ระลึกชาติได้๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น ด้วยเหตุและผลดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกแต่อย่างใดเลยที่หลวงพ่อสุข ธมฺมโชโต จักทรงคุณวิเศษและแสดงให้แจ้งประจักษ์แก่สาธุชนท่านยังสำเร็จ วิชาสรตโสฬร คือ สามารถกำหนดรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ความศักดิ์สิทธิ์ ความแม่นยำในการทำนายทายทักเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าได้จริงเหมือนตาเห็น สามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ตลอดจนคุณวิเศษต่าง ๆ ได้นานัปการ เช่น การล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า การบอกใบ้หวย การรู้วาระจิตบุคคลอื่น เป็นต้น วิชาดังกล่าว เป็นวิชาที่มีจริง จะบังเกิดเฉพาะท่านที่ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งได้ญาณสมาบัติขั้นสูงเท่านั้นผลงานด้านการปกครองด้านการพัฒนาและสืบสานพระพุทธศาสนา ท่านบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอละหานทราย และอำเภอใกล้เคียงในเรื่องความเดือนร้อนของชาวบ้าน เช่น เรื่องแหล่งน้ำ การประสานกับลูกศิษย์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สร้างความเจริญให้กับพื้นที่อำเภอละหานทรายเป็นอย่างมากท่านได้พัฒนาวัดโพธิ์ทรายทอง และไปสร้างวัดอีก ๓-๔ วัด กล่าวคือพ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่ก่อสร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๙ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐บาทพ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่สร้างวัดบ้านโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงปู่ช่วยในการย้ายวัดหนองติม ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยย้ายจากในหมู่บ้านไปยังนอกหมู่บ้าน (สถานที่ปัจจุบัน)พ.ศ. ๒๔๙o หลวงปู่สร้างวัดหนองหมี ที่บ้านหนองหมี ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ได้สร้างศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ทรายทอง ๑หลัง กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้ สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ ๑,๕๐๐ บาทพ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่สร้างวัดไม้แดงที่บ้านโคกไม้แดงพ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง เสาคอนกรีตต่อไม้ มุงสังกะสี ๑ หลังกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร lสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๑๕,๐๐๐บาทพ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างกุฎิสงฆ์ วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง สร้างกุฏิเสาไม้สร้างด้วยไม้ มุงสังกะสี ๑ หลัง กว้าง ๙ เมตรสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาทและได้ไปพัฒนาวัดต่าง ๆ ในอำเภอใกล้เคียงและต่างจังหวัดที่ได้รับนิมนต์ อาทิวัดทับเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ววัตถุมงคลที่ท่านไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกหรือ ปลุกเสกโดยไม่ใช่รูปเหมือนท่าน (( ดูวัตถุมงคลหลวงปู่สุข )) - พ.ศ. ๒๔๙๘ ปลุกเสกเหรียญหลวงพ่อเพียร วัดศรีวิสุทธาราม บ้านถนนหัก ตำบลถนนหักอำเภอ นางรองกับหลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา- พ.ศ.๒๔๙๙ ปลุกเสกเหรียญ หลวงพ่อเทิ่ง วัดอัมภาราม ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหลวงพ่อเป็น วัดเจริญนิมิต อำเภอละหานทราย- พ.ศ.๒๕๐๐ ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่ท้องสนามหลวง ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ- มกราคม ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในพิธีมหาจักพรรดิ์ “กริ่งนเรศวรวังจันทร์” จังหวัดพิษณุโลก- เมษายน ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่บ้านหนองปรือ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พออายุได้ ๒๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่วัดโพธิ์ได้ระยะหนึ่งก็เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร และประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มาอยู่วัดชิโนรสาราม อยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ไปอยู่วัดโพธิ์ จังหวัดนครราชสีมา และได้มรณภาพในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๕ ช่วงอยู่ วัดชิโนรสาราม ได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้มากมาย อาทิ ซ่อมพระอุโบสถ ซ่อมตำหนักหอสมุด สร้างกุฎิ สร้างถนน สร้างฌาปนสถาน สิ้นงบประมาณดำเนินการ ๗๔๘,๐๐๐ บาท และได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส วัดชิโนรสาราม ท่านสนใจในเรื่องพุทธาคม และเลื่อมใสในองค์สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหฺมรังสี มาก ได้สร้างพระเครื่องและพระบูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๑๒ ณ วัดชิโนรสาราม เป็นพระผงสมเด็จ พระกริ่งปรมา พระพุทธชินราชจำลอง ขันน้ำมนต์จารึกพระคาถาชินบัญชร และพระคาถาพาหุง ๘ บท ขันนิมันต์พระปริตร และพระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม การสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ได้ร่วมกับ พระอาจารย์พิชัย รตฺนญาโณ จัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ประมาณเดือนสิงหาคม พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ ได้นิมนต์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดชิโนรสาราม และได้หล่อรูปเหมือนบูชา เนื้อโลหะ ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว เป็นรุ่นแรกรูปเหมือนลอยองค์ พิมพ์หน้าบาก เนื้อทองผสม และรูปถ่ายอัดกระจกในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มาจำพรรษาที่ วัดโพธิ์ทรายทอง ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนเป็นช่อจำนวน ๑๐๘ องค์ และได้สร้างพระผงรูปสี่เหลี่ยม ตะกรุดสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์ พิมพ์หน้าบากเล็ก เนื้อทองแดงในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้จัดสร้างรูปหล่อรูปองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนผสมจ้าวน้ำเงินให้กับวัดโพธิ์อำเภอเมืองนครราชสีมาในพิธีพุทธาภิเษกรุ่น “อยู่ เย็น เป็น สุข” พระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม เป็นพระกริ่งที่สร้างถูกต้องตามคติโบราณกาล ตามตำรับการสร้างพระกริ่งของสมเด็จเมธี (เจีย ป.๙) ได้รับตำราเป็นมรดกทอดและได้เมตตา ลงยันต์การสร้างต่าง ๆ ให้ ซึ่งประกอบด้วยยันต์ร้อยแปด กับ นะปัตถมัง ๑๔ นะ มีพระเกจิอาจารย์โด่งดังยุคนั้น ร่วมปลุกเสกนับเป็นพระเครื่องที่โงดังของวัดชิโนรสาราม และหาได้ยากในปัจจุบัน จากตำนานการสร้างพระกริ่งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ดังกล่าว คือ ที่มาของการจัดสร้างรูปหล่อลอยองค์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง ที่โด่งดังในยุคปัจจุบัน นับว่าพระปลัดมานพ ทุลฺลโภ และพระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ คือ ผู้สร้างสรรค์และเผยแพร่เกียรติคุณให้กับหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ให้มีชื่อเสียงขจรขจายโดยเฉพาะในด้าน วัตถุมงคลของของหลวงปู่สุขซึ่งเป็นที่เสาะแสวงหาของลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ราคาเช่าหากในปัจจุบัน จึงมีราคาแพง เพราะเสาะหาได้ยากยิ่ง พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ หรือ พิชัย โสมศรีแก้ว ปัจจุบันได้ลาสิกขาบทและประกอบอาชีพส่วนตัวเปิดโรงพิมพ์อยู่ที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรัมย์ ได้กล่าวถึงพระอาจารย์หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ดังนี้ พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ ในขณะนั้นดำรงคำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้หลวงปู่พัฒนาและถาวรวัตถุอาทิ เช่น ศาลาการเปรียญ โบสถ์ โดยท่านได้ขออนุญาตหลวงปู่สุข จัดสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ จนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ ได้ร่วมกับ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสาราม กรุงเทพมหานครซึ่งพระปลัดมานพ ท่านเป็นชาวนางรอง นับถือเลื่อมใสหลวงปู่สุขมาก
พระครูภาวนาภิมณฑ์ (หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต)วัดโพธิ์ทรายทอง ตำบลละหานทรายอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ชาติกำเนิด พระครูภาวนาภิมณฑ์ หรือหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เดิมชื่อ สุข นามสกุล ยอดเยี่ยมแกร เป็นบุตรของ นายโฮ และนางแฮม ยอดเยี่ยมแกร อาชีพทำนา ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๒๑ แรม ๕ ค่ำ ปีเถาะ เกิดที่บ้านละหานทราย หมู่ที่ ๒ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตจำนวน ๖ คน หลวงปู่สุขเป็นคน ที่ ๔ มีรายนามดังต่อไปนี้๑.นายหีบ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๒.นายเต็บ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๓.นายเกต ยอมเยี่ยมแกร เสียชีวิต๔.หลวงปู่สุข มรณภาพ ๓๑ธ.ค.๒๕๑๕๕.นายแป๊ะ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต๖.นางอ้ม ยอดเยียมแกร เสียชีวิตการศึกษา ในสมัยนั้นการเรียนหนังสือต้องอาศัยวัด อำเภอละหานทราย ยังเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ในป่าดงพงพี ถนนหนทางก็ไม่สะดวก เด็กชายสุข เรียนหนังสือขอมที่วัดโพธิ์ทรายทอง จนสามารถ อ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ทรายทอง บรรพชาอยู่ได้ ๕ พรรษาการอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทรายทองตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีกุน มีเจ้าอธิการนิ่ม วัดสายน้ำไหล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลิ่น เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการเกิดเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโชโต” แปลว่า แสงสว่างแห่งธรรม เมื่อหลวงปู่สุขท่านอุปสมบทท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทรายทอง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรมแต่ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งเป็นภาษาขอม จนมีความรู้ แตกฉานสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่วัดโพธิ์ทรายทองจนแตกฉานดีแล้ว ท่านก็ตั้งใจที่จะออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวก เพราะหลวงปู่เห็นว่า การที่เล่าเรียนเฉพาะพระธรรมวินัยภายในวัดแต่เพียงอย่างเดียว มันเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ไม่ก่อประโยชน์แก่ตัวเองมากนัก ท่านจึงตัดสินใจออกเดินธุดงค์ไปกลายแห่ง ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้เรียนกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และด้านพระเวทย์วิทยาคมต่าง ๆ ท่านได้ศึกษากับ พระอาจารย์อินทร์ ภิกษุชาวเขมรซึ่งได้ธุดงค์มาจาก เมืองศรีโสภณ และได้มาสร้าง วัดหนองติม อยู่ในเขต อ.ตาพระยา ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับ จังหวัดปราจีนบุรี หลวงปู่สุขท่านได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานและก็สมถภาวนาอยู่เป็นประจำ ปฏิบัติธรรมด้วยความเคร่งครัดจนชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ท่านสำเร็จถึงขั้น “อภิญญา” ด้วยวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ความสำเร็จทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้ขาวบ้านเล่ากันปากต่อปาก ถึงกับมีผู้เสื่อมใสหลวงปู่ ในหลายจังหวัดเดินทางมากราบมนัสการและสนทนาธรรมอยู่อย่างเนืองนิตย์ถนนหนทางในสมัยนั้น การคมนาคมยังไม่เจริญเท่าทุกวันนี้ บางคน บางคณะอาจต้องค้างแรมกันหลายคืนทั้งยังบุกป่าฝ่าดงเผชิญกับสัตว์ป่าดุร้ายมากมาย แต่กลุ่มผู้ศรัทธาก็ไม่ยอมย่อท้อ ต่อความยากลำบาก เดินทางมาจนถึงตัวท่านให้ท่านเป่ากระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บาง เพื่อความเป็นสิริมงคลตำแหน่ง และสมณศักดิ์ (ประวัติการปกครอง)พ.ศ. ๒๕๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทรายทอง(เป็นเจ้าอาวาส ๓๓ ปี)พ.ศ. ๒๕๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบลละหานทรายพ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์พ.ศ. ๒๕๑๕ มรณภาพ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕) รวมสิริอายุได้ ๙๕ ปีวัดโพธิ์ทรายทองเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ สมัยยุคต้นรัตนโกสินทร์วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัตรปฏิบัติ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ศึกษาพระธรรมวินัย จากคัมภีร์ตำราตัวอักษรขอมและบาลีมีความรู้แตกฉานเชี่ยวชาญ หลวงปู่สุขได้ศึกษาเล่าเรียนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก หลวงปู่มั่นภูริทัตโต พระอริยสงฆ์ ผู้นำกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานแห่งภาคอีสาน ซึ่งกล่าวกันว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสำเร็จอรหันต์ เป็นอาจารย์ใหญ่ของพระป่า สายธรรมยุติกิจวัตรประจำที่หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ถือปฏิบัติเป็นนิจ(ปฏิปทาพิเศษ)๑. เจริญสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นวัตรปฏิบัติประจำเนื่องนิจ โดยกำหนดองค์ “ภาวนา” ทุกลมหายใจเข้าออก และทุกอิริยาบถ อาทิเช่น๑.๑ การสวดมนต์ภาวนา และลงพระอุโบสถไม่เคยขาด๑.๒ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะฉันอาหาร ห่มจีวร สรงน้ำ เดิน นั่ง นอนจะต้องสวดภาวนากำหนดสมาธิ มีสติกำกับก่อนทุกครั้ง๑.๓ เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นระยะเวลานาน ๆ ๑๐ – ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหาร เว้นน้ำดื่มและห้ามไม่ให้ใครรบกวน๒. ท่านอยู่อย่างสันโดษ คือ เรียบง่าย เจริญตามแนวทางพระธรรมวินัย ละกิเลส เจริญปัญญา รู้แจ้ง เห็นจริง ในเรื่องกายและจิตอาทิเช่น ๒.๑ การอยู่อย่างสมถะฉันง่าย ไม่ยินดีในเรื่องรสชาติของอาหารบิณฑบาต ได้อะไรมาก็ฉันอย่างนั้นอยู่ง่าย ไม่สนใจในเรื่องความสะดวกสบาย อดทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะร้อน จะหนาว ไม่เคยใช้รองเท้า และสบู่ฟอกตัว๒.๒ ไม่สนใจในทรัพย์สิน และไทยทาน เงินทองหรือปิยภัณฑ์ใด ๆ ที่ได้รับมอบถวาย ไม่เคยเก็บสะสมเอาไว้เป็นสมบัติส่วนตัว และไม่เคยสนใจว่าใครจะหยิบฉวยเอาไป ใครอยากได้ก็ยินดีมอบให้เสมอไม่เคยหวงไม่เคยนับและถือจ่ายเงินเลย๒.๓ ไม่สนใจในลาภยศ ท่านเป็นพระป่าบ้านนอก เคร่งในพระธรรมวินัย มุ่งปฏิบัติเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสมาธิจิตสูงยิ่ง ไม่ยินดีในลาภยศสรรเสริญ ไม่แสวงหายศถาบรรดาศักดิ์เป็นพระสงฆ์สุปัฏิปันโน มักน้อย รักสันโดษ ถึงแม้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์ ท่านก็ไม่สนใจ ท่านเพียงแต่กล่าวว่า “ก็ข้าเป็นพระแล้วจะให้ข้าเป็นอะไรอีก”๓. มีเมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นรับนิมนต์โดยไม่เคยรังเกียจเดียดฉันท์ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไร ระยะทางจะไกลหรือใกล้๔. มีขันติ และวิริยะสูง ท่านเคร่งในวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีความเพียรพยายาม อุตสาหะ อดทนในการฝึกจิต สำรวจกายทุกลมหายใจเข้าออก นั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นระยะเวลานาน ๆ บางครั้งนั่งวิปัสสนากัมมัฎฐานถึง ๑๕ วัน โดยไม่ฉัน ท่านมีสมาธิจิตขั้นสูงสำเร็จ “อภิญญา”๕. ท่านมีความอดทนเป็นเลิศ แม้ยามเจ็บป่วย (อาพาธ) ไม่เคยปริปาก หรือบ่นให้ใครรู้ท่านล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้า ในวันสารท แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุล่วงได้ ๙๕ ปี หลวงปู่ได้หกล้ม ทำให้กระดูกต้นขาของท่านหลุดจากสะโพก ท่านทราบว่ากาลมรณสังขารใกล้สิ้นสุดแล้ว ท่านก็ไม่ปริปากบอกใครให้ทราบถึงอาการ เจ็บป่วยของท่านนั้นรักษาไม่หายหรอก มันเป็นเรื่องของสังขารเพราะท่านจะมรณภาพแล้ว ตลอดเวลาที่ท่านเจ็บป่วย ท่านไม่เคยโอดครวญหรือแสดงกิริยาอาการเจ็บปวดให้ใครเห็น ท่านใช้ขันติ และพิจารณาสังขารของท่านในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต๖. การถือธุดงค์วัตร เมื่อยามที่ท่านยังแข็งแรงอายุยังไม่สูงวัย ท่านถือธุดงค์วัตรเป็นนิจโดยท่านจะเดินธุดงค์หลังจากออกพรรษาแล้ว ไปประเทศเขมรผ่านทางวัดหนองติม อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อบำเพ็ญจิตและศึกษาวิชาเพิ่มเติม การเดินทางของท่านเป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะท่านเดินทางได้เร็วมาก มีผู้กล่าวว่าท่านสำเร็จวิชาย่นระยะทางไป – กลับ ได้ภายในวันเดียว๗. การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในด้านสืบสานพระพุทะศาสนา ท่านจะเคร่งในวัตรปฏิบัติจะนำพุทธศาสนิกชนทำบุญและถืออุโบสถศีลทุกวันพระ อบรมธรรม และฝึกฝนจิตด้านสมถกัมมัฏฐานให้กับพุทธบริษัท หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ท่านนิยมสอนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับบุคคลโดยทั่วไป ผู้ถือศีล สามเณร และพระภิกษุ โดยท่านจะให้ผู้ขอขึ้นกัมฏฐานกับท่านใช้องค์ภาวนาและใช้คาถา “อะ อา แอ๊ก ไอ นะ นู เน นิ นัง” ซึ่งเป็นภาษาเขมรการรับกิจนิมนต์ไปพุทธาภิเษกวัตถุมงคล เพื่อหาเงินสร้างวัดของ วัดป่าธรรมธีราราม (วัดป่าหลังโรงเลื่อย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยรับนิมนต์ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสารามแขวงบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ปลุกเสกวัตถุมงคลรูปหล่อบูชารุ่นแรก และพระรูปเหมือนขนาด ๑ เซนติเมตร ณ หอสมุดกรมหลวงพระปรมานุชิตชิโนรส วัดชิโนรสาราม ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ก่อนท่านมรณภาพ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เป็นพระอริยสงฆ์ สุปฏิปันโน มีวัตรปฏิบัติที่งดงามสมเป็น “พระแท้” อย่างแท้งจริงสมควรค่าแก่การกราบไหว้บูชา ท่านเคร่งในพระธรรมวินัยถือการปฏิบัติ เจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดองค์ภาวนาทุกลมหายใจเข้า ออก ท่านสำเร็จญาณสมาบัติขั้นสูงเรียกว่า “อภิญญา”อภิญญา คือ ความรู้ชั้นสูงในพุทธศาสนา ซึ่งได้จากการปฏิบัติทางด้านวิปัสสนาธุระ มีอยู่ ๖ ประการด้วยกันคือ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้๒. ทิพยโสต หูทิพย์๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด รู้ใจผู้อื่น๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ระลึกชาติได้๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น ด้วยเหตุและผลดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกแต่อย่างใดเลยที่หลวงพ่อสุข ธมฺมโชโต จักทรงคุณวิเศษและแสดงให้แจ้งประจักษ์แก่สาธุชนท่านยังสำเร็จ วิชาสรตโสฬร คือ สามารถกำหนดรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ความศักดิ์สิทธิ์ ความแม่นยำในการทำนายทายทักเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าได้จริงเหมือนตาเห็น สามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ตลอดจนคุณวิเศษต่าง ๆ ได้นานัปการ เช่น การล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า การบอกใบ้หวย การรู้วาระจิตบุคคลอื่น เป็นต้น วิชาดังกล่าว เป็นวิชาที่มีจริง จะบังเกิดเฉพาะท่านที่ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งได้ญาณสมาบัติขั้นสูงเท่านั้นผลงานด้านการปกครองด้านการพัฒนาและสืบสานพระพุทธศาสนา ท่านบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอละหานทราย และอำเภอใกล้เคียงในเรื่องความเดือนร้อนของชาวบ้าน เช่น เรื่องแหล่งน้ำ การประสานกับลูกศิษย์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สร้างความเจริญให้กับพื้นที่อำเภอละหานทรายเป็นอย่างมากท่านได้พัฒนาวัดโพธิ์ทรายทอง และไปสร้างวัดอีก ๓-๔ วัด กล่าวคือพ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่ก่อสร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๙ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐บาทพ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่สร้างวัดบ้านโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงปู่ช่วยในการย้ายวัดหนองติม ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยย้ายจากในหมู่บ้านไปยังนอกหมู่บ้าน (สถานที่ปัจจุบัน)พ.ศ. ๒๔๙o หลวงปู่สร้างวัดหนองหมี ที่บ้านหนองหมี ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ได้สร้างศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ทรายทอง ๑หลัง กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างด้วยไม้ มุงไม้ สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ ๑,๕๐๐ บาทพ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่สร้างวัดไม้แดงที่บ้านโคกไม้แดงพ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างกุฏิสงฆ์วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง เสาคอนกรีตต่อไม้ มุงสังกะสี ๑ หลังกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร lสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๑๕,๐๐๐บาทพ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างกุฎิสงฆ์ วัดโพธิ์ทรายทอง ๑ หลัง สร้างกุฏิเสาไม้สร้างด้วยไม้ มุงสังกะสี ๑ หลัง กว้าง ๙ เมตรสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาทและได้ไปพัฒนาวัดต่าง ๆ ในอำเภอใกล้เคียงและต่างจังหวัดที่ได้รับนิมนต์ อาทิวัดทับเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ววัตถุมงคลที่ท่านไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกหรือ ปลุกเสกโดยไม่ใช่รูปเหมือนท่าน (( ดูวัตถุมงคลหลวงปู่สุข )) - พ.ศ. ๒๔๙๘ ปลุกเสกเหรียญหลวงพ่อเพียร วัดศรีวิสุทธาราม บ้านถนนหัก ตำบลถนนหักอำเภอ นางรองกับหลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา- พ.ศ.๒๔๙๙ ปลุกเสกเหรียญ หลวงพ่อเทิ่ง วัดอัมภาราม ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหลวงพ่อเป็น วัดเจริญนิมิต อำเภอละหานทราย- พ.ศ.๒๕๐๐ ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่ท้องสนามหลวง ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ- มกราคม ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในพิธีมหาจักพรรดิ์ “กริ่งนเรศวรวังจันทร์” จังหวัดพิษณุโลก- เมษายน ๒๕๑๕ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่บ้านหนองปรือ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พออายุได้ ๒๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่วัดโพธิ์ได้ระยะหนึ่งก็เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร และประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มาอยู่วัดชิโนรสาราม อยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ไปอยู่วัดโพธิ์ จังหวัดนครราชสีมา และได้มรณภาพในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๕ ช่วงอยู่ วัดชิโนรสาราม ได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้มากมาย อาทิ ซ่อมพระอุโบสถ ซ่อมตำหนักหอสมุด สร้างกุฎิ สร้างถนน สร้างฌาปนสถาน สิ้นงบประมาณดำเนินการ ๗๔๘,๐๐๐ บาท และได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส วัดชิโนรสาราม ท่านสนใจในเรื่องพุทธาคม และเลื่อมใสในองค์สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหฺมรังสี มาก ได้สร้างพระเครื่องและพระบูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๑๒ ณ วัดชิโนรสาราม เป็นพระผงสมเด็จ พระกริ่งปรมา พระพุทธชินราชจำลอง ขันน้ำมนต์จารึกพระคาถาชินบัญชร และพระคาถาพาหุง ๘ บท ขันนิมันต์พระปริตร และพระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม การสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ได้ร่วมกับ พระอาจารย์พิชัย รตฺนญาโณ จัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ประมาณเดือนสิงหาคม พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ ได้นิมนต์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดชิโนรสาราม และได้หล่อรูปเหมือนบูชา เนื้อโลหะ ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว เป็นรุ่นแรกรูปเหมือนลอยองค์ พิมพ์หน้าบาก เนื้อทองผสม และรูปถ่ายอัดกระจกในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มาจำพรรษาที่ วัดโพธิ์ทรายทอง ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนเป็นช่อจำนวน ๑๐๘ องค์ และได้สร้างพระผงรูปสี่เหลี่ยม ตะกรุดสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้สร้างรูปหล่อลอยองค์ พิมพ์หน้าบากเล็ก เนื้อทองแดงในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้จัดสร้างรูปหล่อรูปองค์เนื้อตะกั่วเถื่อนผสมจ้าวน้ำเงินให้กับวัดโพธิ์อำเภอเมืองนครราชสีมาในพิธีพุทธาภิเษกรุ่น “อยู่ เย็น เป็น สุข” พระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์เล็ก รุ่นแรก ของวัดชิโนรสาราม เป็นพระกริ่งที่สร้างถูกต้องตามคติโบราณกาล ตามตำรับการสร้างพระกริ่งของสมเด็จเมธี (เจีย ป.๙) ได้รับตำราเป็นมรดกทอดและได้เมตตา ลงยันต์การสร้างต่าง ๆ ให้ ซึ่งประกอบด้วยยันต์ร้อยแปด กับ นะปัตถมัง ๑๔ นะ มีพระเกจิอาจารย์โด่งดังยุคนั้น ร่วมปลุกเสกนับเป็นพระเครื่องที่โงดังของวัดชิโนรสาราม และหาได้ยากในปัจจุบัน จากตำนานการสร้างพระกริ่งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ดังกล่าว คือ ที่มาของการจัดสร้างรูปหล่อลอยองค์ หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง ที่โด่งดังในยุคปัจจุบัน นับว่าพระปลัดมานพ ทุลฺลโภ และพระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ คือ ผู้สร้างสรรค์และเผยแพร่เกียรติคุณให้กับหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ให้มีชื่อเสียงขจรขจายโดยเฉพาะในด้าน วัตถุมงคลของของหลวงปู่สุขซึ่งเป็นที่เสาะแสวงหาของลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ราคาเช่าหากในปัจจุบัน จึงมีราคาแพง เพราะเสาะหาได้ยากยิ่ง พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ หรือ พิชัย โสมศรีแก้ว ปัจจุบันได้ลาสิกขาบทและประกอบอาชีพส่วนตัวเปิดโรงพิมพ์อยู่ที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรัมย์ ได้กล่าวถึงพระอาจารย์หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต ดังนี้ พระอาจารย์พิชัย รตฺญาโณ ในขณะนั้นดำรงคำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้หลวงปู่พัฒนาและถาวรวัตถุอาทิ เช่น ศาลาการเปรียญ โบสถ์ โดยท่านได้ขออนุญาตหลวงปู่สุข จัดสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ จนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ ได้ร่วมกับ พระปลัดมานพ ทุลฺลโภ วัดชิโนรสาราม กรุงเทพมหานครซึ่งพระปลัดมานพ ท่านเป็นชาวนางรอง นับถือเลื่อมใสหลวงปู่สุขมาก
วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553
บทสวดมนต์และคาถาชินบัญชร
บทสวดมนต์และคาถาชินบัญชร
บทนมัสการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น.
อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว.
ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(กราบ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ๆ
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถาเทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ
เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหิติ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโน สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทินัง
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ
คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี)
ตั้งนะโม 3 จบ
ปุตตะกาโมละเภปุตโต ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวชสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
1
ชะยาสะนาคะตา พุทธา, เชตะวา มารัง สะวาหะนัง, จะตุสัจจา สะภัง ระสัง, เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
พระพุทธเจ้าและพระนราสภทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยายมาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนา ราชพาหนะ แล้วเสวยอมตรส คือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
2
ตัณหังกะราทะโย พุทธา, อัฏฐะวีสะติ นายะกา, สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง, มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
มี 28 พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
3
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง, พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน, สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง, อุเร สัพพะคุณากะโร.
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก
4
หะทะเย เม อะนุรุทโธ, สารีปุตโต จะ ทักขิเณ, โกณฑัณโญ ปิฏฐิภาคัสมิง, โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
5
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง, อาสุง อานันทะราหุโล, กัสสะโป จะ มะหานาโน, อุภาสุง วามะโสตะเก.
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
6
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง, สุริโย วะ ปะภังคดโร, สิสินโน สิริสัมปันโน, โสภิโต มุนิปุงคะโว.
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
7
กุมระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง, ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มี วาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
8
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ, อุปาลีนันทสีวะสี, เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา, นะลาเต ตีละกา มะมะ.
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
9
เสสาสีติ มะหาเถรา, วิชิตา ชินะสะวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา, ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ, อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
10
ระตะนัง ปุระโต อาสิ, ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง, ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ, วาเม อังคุลิมาละกัง.
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง
11
ขันธะโมระปะริตตัญจะ,อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ, เสสา ปาการะสัณฐิตา.
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
12
ชินานาวะระสังยุตตา สัตตะปะการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา, พาหิรัชฌัตตุปัทวา.
อนึ่ง พระชินเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการเป็นอาภรณ์ มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
13
อะเสสา วินะยัง ยันตุ, อะนันตะชินะเตชะสา, วะสะโตเม, สะกิจเจนะ, สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชิตเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลม และโรคดี เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
14
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ, วิหะรันตัง มะฮี ตะเล, สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระเจ้าผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล
15
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย.
ข้าพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
16
สัทธัมมานุภาวะปะลิโต, จะรามิ ชินะปัญชะเรติฯ
ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.
******************************************************************
บทนมัสการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น.
อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว.
ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(กราบ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ๆ
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถาเทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ
เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหิติ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโน สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทินัง
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ
คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี)
ตั้งนะโม 3 จบ
ปุตตะกาโมละเภปุตโต ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวชสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
1
ชะยาสะนาคะตา พุทธา, เชตะวา มารัง สะวาหะนัง, จะตุสัจจา สะภัง ระสัง, เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
พระพุทธเจ้าและพระนราสภทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยายมาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนา ราชพาหนะ แล้วเสวยอมตรส คือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
2
ตัณหังกะราทะโย พุทธา, อัฏฐะวีสะติ นายะกา, สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง, มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
มี 28 พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
3
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง, พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน, สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง, อุเร สัพพะคุณากะโร.
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก
4
หะทะเย เม อะนุรุทโธ, สารีปุตโต จะ ทักขิเณ, โกณฑัณโญ ปิฏฐิภาคัสมิง, โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
5
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง, อาสุง อานันทะราหุโล, กัสสะโป จะ มะหานาโน, อุภาสุง วามะโสตะเก.
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
6
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง, สุริโย วะ ปะภังคดโร, สิสินโน สิริสัมปันโน, โสภิโต มุนิปุงคะโว.
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
7
กุมระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง, ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มี วาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
8
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ, อุปาลีนันทสีวะสี, เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา, นะลาเต ตีละกา มะมะ.
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
9
เสสาสีติ มะหาเถรา, วิชิตา ชินะสะวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา, ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ, อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
10
ระตะนัง ปุระโต อาสิ, ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง, ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ, วาเม อังคุลิมาละกัง.
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง
11
ขันธะโมระปะริตตัญจะ,อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ, เสสา ปาการะสัณฐิตา.
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
12
ชินานาวะระสังยุตตา สัตตะปะการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา, พาหิรัชฌัตตุปัทวา.
อนึ่ง พระชินเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการเป็นอาภรณ์ มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
13
อะเสสา วินะยัง ยันตุ, อะนันตะชินะเตชะสา, วะสะโตเม, สะกิจเจนะ, สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชิตเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลม และโรคดี เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
14
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ, วิหะรันตัง มะฮี ตะเล, สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระเจ้าผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล
15
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย.
ข้าพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
16
สัทธัมมานุภาวะปะลิโต, จะรามิ ชินะปัญชะเรติฯ
ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.
******************************************************************
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
การบริจาคเลือด
ข้อควรกระจ่าง-ในการบริจาคเลือด
ก่อนอื่น…คุณรู้แล้วหรือยัง… ว่าตัวคุณมีเลือดกรุ๊ปอะไร?…
สำคัญมากนะครับ… เพราะถ้าวันหนึ่ง ...คุณเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดฝัน ...ถ้าคุณเสีย
เลือดมาก แต่ยังพอมีสติอยู่ ....เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตรงนั้น....จะต้องถามคุณอย่าง
แน่นอน…ว่า.....เลือดของคุณ ...กรุ๊ปอะไร? เจ้าหน้าที่...จะได้นำเลือดที่สามารถเข้า
กับคุณได้ ...มาให้คุณ...เพื่อเป็นการทดแทน....อย่างเพียงพอและรวดเร็ว...ในการที่จะ
ช่วยชีวิตคุณ...(แทนที่ในปริมาณที่คุณเสียไป)----แต่หากคุณไม่รู้กรุ๊ปเลือดของตัว
เอง.... เจ้าหน้าที่ก็ต้องนำเลือดคุณไปตรวจก่อน.... คุณจึงต้องรอเวลา....ที่จะได้รับ
เลือดเข้าสู่ร่างกาย..... แต่ ณ ช่วงเวลานั้น .....ร่างกายคุณ…อาจไม่รออะไรแล้วก็ได้…
***การรู้หมู่เลือด***
1. ระบบ ABO (A, B, O หรือ AB)
2. ระบบ Rh (D+, Rh+ หรือ D- และ Rh-)
เป็นประโยชน์ และเพิ่มความปลอดภัยแก่ตนเองเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เลือด ...(
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเลือดชนิดที่หาได้ยากในคนไทย เช่นผู้ที่เป็น Rh ลบ ซึ่งใน
คนไทยพบเพียง 0.3 เท่านั้น)
***การปั่นแยกเลือด**
เลือดที่ได้รับบริจาค 1 ถุง (300-450 มล.) สามารถนำไปปั่นแยก ...ด้วยเครื่องปั่น
ชนิดพิเศษ ...ซึ่งจะได้ส่วนประกอบต่าง ๆ ตามต้องการ 2-4 ชนิด ได้แก่
**เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cells)
**เลือดที่มีเม็ดเลือดขาวน้อย (Leukocyte Poor Blood)
**เกร็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Concentrate)
**พลาสมา-สดแแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma)
**ไครโอปริซิปิเตท (Cryoprecipitate)
**พลาสมา (Plasma)
ส่วนน้ำที่เหลือ...จากการแยกเม็ดเลือดแดงเข้มข้น... ออกจากเลือด ....มีส่วน
ประกอบที่สำคัญคือ ....โปรตีนและน้ำ...
ดังนั้น... การปั่นแยกเลือด 1 ถุง...จึงเป็นการใช้เลือดอย่างคุ้มค่า....เพื่อให้ผู้ป่วยแต่
ละโรค ที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน....(คุณสามารถช่วยชีวิต/ยืดชีวิตคน ได้อีก
หลายคน)
......อีกทั้งยังช่วยลดปัญหา...การขาดแคลนเลือด.....ทั้งยังทำให้ผู้ป่วย.....ได้
เฉพาะส่วนที่ตนเองต้องการเท่านั้น ....เพราะถ้าได้ส่วนอื่น ....ก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใด
การให้เลือดและส่วนประกอบชนิดต่าง ๆ ของเลือด แก่ผู้ป่วย
*เลือด* ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เสียเลือดมากจนเกิดภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ มี
สาเหตุมาจาก
-การผ่าตัดใหญ่ อุบัติเหตุต่าง ๆ บนท้องถนน หรือในโรงงานอุตสาหกรรม
-โดนยิง โดนแทงด้วยของมีคม การตกเลือด การแท้ง
-โรคตับแข็ง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคไข้เลือดออก โรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ
*เม็ดเลือดแดงเข้มข้น* ผู้ป่วยมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และร่างกายสร้างไม่ได้
-โรคโลหิตจาง (Aplastic Anemia), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), โรคธา
ลัสซีเมีย
-โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง
-เลือดออกในกระเพาะอาหาร / ลำไส้ ฯลฯ
*เกร็ดเลือดเข้มข้น* การที่จำนวนเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติทำให้เกิดภาวะเลือดออก
ไม่หยุดที่อวัยวะต่าง ๆ ได้แก่
-โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
-โรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด -ถ้าได้รับเกร็ดเลือดทด
แทนไม่ทัน...อาจเสียชีวิตได้)
-การผ่าตัดหัวใจ และ ผู้ป่วยที่เกร็ดเลือดไม่สามารถทำหน้าที่ได้อาจเป็นโดยกำเนิด
ฯลฯ
*พลาสมา-สดแช่แข็ง*
-โรคฮีโมฟีเลียทุกชนิด, โรคไข้เลือดออก, โรคตับแข็ง
-มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, การผ่าตัดหัวใจ / ตับ ฯลฯ
*ไครโอปริซิปิเตท*
-โรคฮีโมฟีเลีย เอ, การตกเลือดภายหลังคลอด, การผ่าตัดหัวใจ
*พลาสมา* สำหรับผู้ป่วยบางโรค ที่มีการสูญเสียน้ำอย่างมากจนเกิดภาวะช็อค
-แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก, ไข้เลือดออก, โรคไต โรคตับ (ที่มีอาการบวมมาก)
***ภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อย***
ฉันเคยเจอเหตุการณ์ ...ในภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อยมาแล้ว....(ทำให้รู้สึกสงสารผู้
ป่วย.....ที่เลือดน้อยมาแต่กำเนิดมาก)....อาการที่เกิด ขึ้นก็คือ
*หน้ามืด
*หายใจไม่ค่อยออก
*สมองชา มึน (คิดอะไรไม่ค่อยออก)
*ตัวเย็นเฉียบ (หนาวมากด้วย)
*ตาพร่ามัว
*เหงื่อออกท่วมตัว (จริง ๆ )
*ปวดหัวมาก (เหมือนจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ )
*ลำไส้บิดมวน บีบจนเจ็บ-- จำเป็นต้องอาเจียน (แม้จะมีแต่น้ำและสุดท้ายคือ
น้ำลาย)
นี่คือ อาการ...ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ...ลองจินตนาการดู ..(ขอบอกว่า …
ทรมาน-มาก-มาก)
**ฉันได้ยิน...หมอพูดกับคนที่มาบริจาคเลือดว่า ต้องขอบคุณมากเลยนะคะ.......ที่
บอกต่อ ๆกัน...ให้ช่วยกันมาบริจาค ....ถ้าทางโรงพยาบาล ...สามารถผลิตเลือดเอง
ได้...คงตั้งหน้าตั้งตา ผลิตกันทั้งวันทั้งคืน...คงไม่ต้องรอแต่คนใจบุญ....มาบริจาคอย่าง
เดียว
**เลือด... เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย....แต่ถ้าเราสละออกมาเพียงส่วนหนึ่ง
....โดยที่ร่างกายเรา.... ยังสามารถดำรงอยู่ได้…คงจะดีนะ …หากได้ช่วยเหลือชีวิต ...
หรือ
....ยืดอายุผู้อื่น….ให้ยืนยาวต่อไป …ถือว่าเป็นกุศลอย่างสูง
**ถ้ามีความตั้งใจจะไปบริจาคเลือด ....ดูแลตัวเองให้ดี ๆ.....กินอาหารให้ครบหมู่
......นอนหลับพักผ่อน วันละ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ...ติดต่อกันประมาณ 7 วันขึ้นไป....
แล้วคุณจะมีเลือดที่สมบูรณ์.... ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นได้แล้ว .....(ปัจจุบันโรง
พยาบาลส่วนใหญ่ จะรับบริจาค วัน เสาร์-อาทิตย์ ด้วยนะ-อ้างโน่นอ้างนี่ไม่ได้แล้วล่ะ)
**การเสียความตั้งใจ ...คือ....ความผิดหวังอย่างร้ายแรง**
การบริจาคเลือด
เขียน: -
การบริจาคเลือด เป็นการให้ที่เป็นที่รู้จักกันดีพอสมควร และค่อนข้างเป็นที่นิยมใน
ปัจจุบัน เพราะให้แล้วได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ปกติร่างกายคนเรามีเลือดประมาณ
17-18 แก้ว แต่ที่นำมาใช้ดำรงชีวิตจริงๆ เพียง 15-16 แก้ว ส่วนที่เหลืออีก 1-2 แก้ว
เมื่อไม่ได้ใช้ มันก็จะหมดอายุและสลายไปกับปัสสาวะ อุจจาระลงชักโครกไปหมด น่า
เสียดาย ๆ รู้อย่างนี้แล้ว แทนที่จะให้มันไหลลงส้วมไปอย่างไร้ประโยชน์ มาบริจาคช่วย
ชีวิตคนกันเถอะค่ะ
การบริจาคเลือดนั้น ทำได้บ่อยทุกๆ 3 เดือนเพราะพอบริจาคไป ไขกระดูกก็สร้างเลือด
กลับมาทดแทนใหม่อยู่เรื่อยๆ และประโยชน์ที่คุณจะได้รับนอกจากความสุขที่ได้ช่วย
ชีวิตผู้ป่วย ก็คือถือเป็นการตรวจสุขภาพไปในตัวทุกครั้งที่บริจาคเพราะเลือดทุกหน่วย
ของคุณต้องผ่านกระบวนการคัดกรอง ตรวจหาสาร/โรคผิดปกติต่างๆ อย่างละเอียด
ฉะนั้น หาคุณมีปัญหาทางสุขภาพ หรือมีโรคติดเชื้อใดๆ คุณจะทราบได้ทันที และจะได้
รีบรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะอยู่ดีๆ คุณคงไม่เดินเข้าโรงพยาบาลไปตรวจเลือดเป็นประจำ
ใช่ไหมคะ กว่าจะรู้ตัวว่าป่วย ก็อาจจะล่าช้า อาการหนักเสีย
แล้ว
เดี๋ยวนี้ นอกจากการบริจาคเลือดทั้งหมดแล้ว ยังรับบริจาคเฉพาะส่วนเช่น พลาสมา
เกล็ดเลือด เม็ดเลือดขาว เซลล์ต้นกำเนิด หรือ Stem cell เพื่อรักษาผู้ป่วยเฉพาะทาง
ยิ่งขึ้นด้วยค่ะ
ง่ายๆ สั้นๆ ก่อนไปบริจาค
o นอนให้เพียงพอ
o ไม่ป่วย
o ไม่มีประจำเดือน
o ไม่ได้ตั้งครรภ์
o ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ตั้งแต่คืนก่อนมาบริจาค จะให้ดีเลิกไปเลยจะดีกว่า
o ทานอาหารมาแล้วอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการหน้ามืด ขณะบริจาค
เพราะขณะที่กระเพาะอาหารกำลังย่อย จำเป็นต้องใช้เลือดและพลังงานไปหล่อเลี้ยง
กระเพาะอาหารมาก หากบริจาคเลือด อาจหน้ามืดเป็นลมได้ง่าย
ที่มา http://www.saranair.com และ www.volunteerspirit.org
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ครับ
ก่อนอื่น…คุณรู้แล้วหรือยัง… ว่าตัวคุณมีเลือดกรุ๊ปอะไร?…
สำคัญมากนะครับ… เพราะถ้าวันหนึ่ง ...คุณเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดฝัน ...ถ้าคุณเสีย
เลือดมาก แต่ยังพอมีสติอยู่ ....เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตรงนั้น....จะต้องถามคุณอย่าง
แน่นอน…ว่า.....เลือดของคุณ ...กรุ๊ปอะไร? เจ้าหน้าที่...จะได้นำเลือดที่สามารถเข้า
กับคุณได้ ...มาให้คุณ...เพื่อเป็นการทดแทน....อย่างเพียงพอและรวดเร็ว...ในการที่จะ
ช่วยชีวิตคุณ...(แทนที่ในปริมาณที่คุณเสียไป)----แต่หากคุณไม่รู้กรุ๊ปเลือดของตัว
เอง.... เจ้าหน้าที่ก็ต้องนำเลือดคุณไปตรวจก่อน.... คุณจึงต้องรอเวลา....ที่จะได้รับ
เลือดเข้าสู่ร่างกาย..... แต่ ณ ช่วงเวลานั้น .....ร่างกายคุณ…อาจไม่รออะไรแล้วก็ได้…
***การรู้หมู่เลือด***
1. ระบบ ABO (A, B, O หรือ AB)
2. ระบบ Rh (D+, Rh+ หรือ D- และ Rh-)
เป็นประโยชน์ และเพิ่มความปลอดภัยแก่ตนเองเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เลือด ...(
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเลือดชนิดที่หาได้ยากในคนไทย เช่นผู้ที่เป็น Rh ลบ ซึ่งใน
คนไทยพบเพียง 0.3 เท่านั้น)
***การปั่นแยกเลือด**
เลือดที่ได้รับบริจาค 1 ถุง (300-450 มล.) สามารถนำไปปั่นแยก ...ด้วยเครื่องปั่น
ชนิดพิเศษ ...ซึ่งจะได้ส่วนประกอบต่าง ๆ ตามต้องการ 2-4 ชนิด ได้แก่
**เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cells)
**เลือดที่มีเม็ดเลือดขาวน้อย (Leukocyte Poor Blood)
**เกร็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Concentrate)
**พลาสมา-สดแแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma)
**ไครโอปริซิปิเตท (Cryoprecipitate)
**พลาสมา (Plasma)
ส่วนน้ำที่เหลือ...จากการแยกเม็ดเลือดแดงเข้มข้น... ออกจากเลือด ....มีส่วน
ประกอบที่สำคัญคือ ....โปรตีนและน้ำ...
ดังนั้น... การปั่นแยกเลือด 1 ถุง...จึงเป็นการใช้เลือดอย่างคุ้มค่า....เพื่อให้ผู้ป่วยแต่
ละโรค ที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน....(คุณสามารถช่วยชีวิต/ยืดชีวิตคน ได้อีก
หลายคน)
......อีกทั้งยังช่วยลดปัญหา...การขาดแคลนเลือด.....ทั้งยังทำให้ผู้ป่วย.....ได้
เฉพาะส่วนที่ตนเองต้องการเท่านั้น ....เพราะถ้าได้ส่วนอื่น ....ก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใด
การให้เลือดและส่วนประกอบชนิดต่าง ๆ ของเลือด แก่ผู้ป่วย
*เลือด* ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เสียเลือดมากจนเกิดภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ มี
สาเหตุมาจาก
-การผ่าตัดใหญ่ อุบัติเหตุต่าง ๆ บนท้องถนน หรือในโรงงานอุตสาหกรรม
-โดนยิง โดนแทงด้วยของมีคม การตกเลือด การแท้ง
-โรคตับแข็ง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคไข้เลือดออก โรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ
*เม็ดเลือดแดงเข้มข้น* ผู้ป่วยมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และร่างกายสร้างไม่ได้
-โรคโลหิตจาง (Aplastic Anemia), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), โรคธา
ลัสซีเมีย
-โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง
-เลือดออกในกระเพาะอาหาร / ลำไส้ ฯลฯ
*เกร็ดเลือดเข้มข้น* การที่จำนวนเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติทำให้เกิดภาวะเลือดออก
ไม่หยุดที่อวัยวะต่าง ๆ ได้แก่
-โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
-โรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด -ถ้าได้รับเกร็ดเลือดทด
แทนไม่ทัน...อาจเสียชีวิตได้)
-การผ่าตัดหัวใจ และ ผู้ป่วยที่เกร็ดเลือดไม่สามารถทำหน้าที่ได้อาจเป็นโดยกำเนิด
ฯลฯ
*พลาสมา-สดแช่แข็ง*
-โรคฮีโมฟีเลียทุกชนิด, โรคไข้เลือดออก, โรคตับแข็ง
-มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, การผ่าตัดหัวใจ / ตับ ฯลฯ
*ไครโอปริซิปิเตท*
-โรคฮีโมฟีเลีย เอ, การตกเลือดภายหลังคลอด, การผ่าตัดหัวใจ
*พลาสมา* สำหรับผู้ป่วยบางโรค ที่มีการสูญเสียน้ำอย่างมากจนเกิดภาวะช็อค
-แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก, ไข้เลือดออก, โรคไต โรคตับ (ที่มีอาการบวมมาก)
***ภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อย***
ฉันเคยเจอเหตุการณ์ ...ในภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อยมาแล้ว....(ทำให้รู้สึกสงสารผู้
ป่วย.....ที่เลือดน้อยมาแต่กำเนิดมาก)....อาการที่เกิด ขึ้นก็คือ
*หน้ามืด
*หายใจไม่ค่อยออก
*สมองชา มึน (คิดอะไรไม่ค่อยออก)
*ตัวเย็นเฉียบ (หนาวมากด้วย)
*ตาพร่ามัว
*เหงื่อออกท่วมตัว (จริง ๆ )
*ปวดหัวมาก (เหมือนจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ )
*ลำไส้บิดมวน บีบจนเจ็บ-- จำเป็นต้องอาเจียน (แม้จะมีแต่น้ำและสุดท้ายคือ
น้ำลาย)
นี่คือ อาการ...ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ...ลองจินตนาการดู ..(ขอบอกว่า …
ทรมาน-มาก-มาก)
**ฉันได้ยิน...หมอพูดกับคนที่มาบริจาคเลือดว่า ต้องขอบคุณมากเลยนะคะ.......ที่
บอกต่อ ๆกัน...ให้ช่วยกันมาบริจาค ....ถ้าทางโรงพยาบาล ...สามารถผลิตเลือดเอง
ได้...คงตั้งหน้าตั้งตา ผลิตกันทั้งวันทั้งคืน...คงไม่ต้องรอแต่คนใจบุญ....มาบริจาคอย่าง
เดียว
**เลือด... เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย....แต่ถ้าเราสละออกมาเพียงส่วนหนึ่ง
....โดยที่ร่างกายเรา.... ยังสามารถดำรงอยู่ได้…คงจะดีนะ …หากได้ช่วยเหลือชีวิต ...
หรือ
....ยืดอายุผู้อื่น….ให้ยืนยาวต่อไป …ถือว่าเป็นกุศลอย่างสูง
**ถ้ามีความตั้งใจจะไปบริจาคเลือด ....ดูแลตัวเองให้ดี ๆ.....กินอาหารให้ครบหมู่
......นอนหลับพักผ่อน วันละ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ...ติดต่อกันประมาณ 7 วันขึ้นไป....
แล้วคุณจะมีเลือดที่สมบูรณ์.... ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นได้แล้ว .....(ปัจจุบันโรง
พยาบาลส่วนใหญ่ จะรับบริจาค วัน เสาร์-อาทิตย์ ด้วยนะ-อ้างโน่นอ้างนี่ไม่ได้แล้วล่ะ)
**การเสียความตั้งใจ ...คือ....ความผิดหวังอย่างร้ายแรง**
การบริจาคเลือด
เขียน: -
การบริจาคเลือด เป็นการให้ที่เป็นที่รู้จักกันดีพอสมควร และค่อนข้างเป็นที่นิยมใน
ปัจจุบัน เพราะให้แล้วได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ปกติร่างกายคนเรามีเลือดประมาณ
17-18 แก้ว แต่ที่นำมาใช้ดำรงชีวิตจริงๆ เพียง 15-16 แก้ว ส่วนที่เหลืออีก 1-2 แก้ว
เมื่อไม่ได้ใช้ มันก็จะหมดอายุและสลายไปกับปัสสาวะ อุจจาระลงชักโครกไปหมด น่า
เสียดาย ๆ รู้อย่างนี้แล้ว แทนที่จะให้มันไหลลงส้วมไปอย่างไร้ประโยชน์ มาบริจาคช่วย
ชีวิตคนกันเถอะค่ะ
การบริจาคเลือดนั้น ทำได้บ่อยทุกๆ 3 เดือนเพราะพอบริจาคไป ไขกระดูกก็สร้างเลือด
กลับมาทดแทนใหม่อยู่เรื่อยๆ และประโยชน์ที่คุณจะได้รับนอกจากความสุขที่ได้ช่วย
ชีวิตผู้ป่วย ก็คือถือเป็นการตรวจสุขภาพไปในตัวทุกครั้งที่บริจาคเพราะเลือดทุกหน่วย
ของคุณต้องผ่านกระบวนการคัดกรอง ตรวจหาสาร/โรคผิดปกติต่างๆ อย่างละเอียด
ฉะนั้น หาคุณมีปัญหาทางสุขภาพ หรือมีโรคติดเชื้อใดๆ คุณจะทราบได้ทันที และจะได้
รีบรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะอยู่ดีๆ คุณคงไม่เดินเข้าโรงพยาบาลไปตรวจเลือดเป็นประจำ
ใช่ไหมคะ กว่าจะรู้ตัวว่าป่วย ก็อาจจะล่าช้า อาการหนักเสีย
แล้ว
เดี๋ยวนี้ นอกจากการบริจาคเลือดทั้งหมดแล้ว ยังรับบริจาคเฉพาะส่วนเช่น พลาสมา
เกล็ดเลือด เม็ดเลือดขาว เซลล์ต้นกำเนิด หรือ Stem cell เพื่อรักษาผู้ป่วยเฉพาะทาง
ยิ่งขึ้นด้วยค่ะ
ง่ายๆ สั้นๆ ก่อนไปบริจาค
o นอนให้เพียงพอ
o ไม่ป่วย
o ไม่มีประจำเดือน
o ไม่ได้ตั้งครรภ์
o ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ตั้งแต่คืนก่อนมาบริจาค จะให้ดีเลิกไปเลยจะดีกว่า
o ทานอาหารมาแล้วอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการหน้ามืด ขณะบริจาค
เพราะขณะที่กระเพาะอาหารกำลังย่อย จำเป็นต้องใช้เลือดและพลังงานไปหล่อเลี้ยง
กระเพาะอาหารมาก หากบริจาคเลือด อาจหน้ามืดเป็นลมได้ง่าย
ที่มา http://www.saranair.com และ www.volunteerspirit.org
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ครับ
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
ยามอุบากอง
ความเป็นมาของยามอุบากองคำว่า "อุบากอง" เป็นชื่อนายทหารเอกของพม่า ซึ่งเข้ามาตีไทยในสมัยต้นรัชกาล กรุงรัตน โกสินทร์นี้เอง มีประวัติที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ดังนี้ อุบากอง เป็นนายทหารยศขุนพล ได้คุมกำลังเข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ เมื่อแรง ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๔๐ คราวที่พระเจ้าปะดุง ยก ๙ ทัพมาตีไทยนั่นเอง แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏ อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ คราวนั้นพ่อเมืองเชียงใหม่ ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๔๐ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่า อุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย เพราะมีพ่อ เป็นเชื้อสายพม่า แต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทาน เสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน) ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกจองจำ คุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตรา ให้กับ พรรคพวก ซึ่งยามนี้ สามารถแหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้ ตามที่ตนบอกแล้ว อุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดี จึงสามารถพากัน แหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย โดยอุบากองกับพรรคพวก พากันหลบหนีไปยังเมือง พม่าได้ แต่ยามที่อุบากองบอกกับพรรคพวกนี้นั้น บังเอิญมีนักโทษพม่า ที่เป็นเชื้อสายไทยบางคน ไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกัน และให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นเอง อนึ่ง ยามดังกล่าว ปรากฏว่า มีผู้นับถือว่า แม่นยำ ได้ผลจริงๆ ด้วย จึงศึกษาเล่าเรียนสืบๆ กัน มาตราบเท่าทุกวันนี้
วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552
พระพุทธประวัติโดยย่อ
พระพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า “ สิทธัตถะ “ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระองค์ทรงถือกำเนิดในศากยวงค์ สกุลโคตมะ พระองค์ประสูติ ในวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ( เดือนวิสาขะ ) ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ( ปัจจุบันคือตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล )
การขนานพระนาม และทรงเจริญพระชนม์ พระราชกุมารได้รับการทำนายจากอสิตฤาษีหรือกาฬเทวิลดาบส มหาฤาษีผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นที่ทรงเคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะว่า “ พระราชกุมารนี้เป็นอัจฉริยมนุษย์ มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน บุคคลที่มีลักษณะดังนี้ จักต้องเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิตแล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกเป็นแน่ “ หลังจากประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ประชุมพระประยูรญาติ และเชิญพราหมณ์ ผู้เรียนจบไตรเพท จำนวน ๑๐๘ คน เพื่อมาทำนายพระลักษณะของพระราชกุมาร
พระประยูรญาติได้พร้อมใจกันถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” มีความหมายว่า “ ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ” ส่วนพราหมณ์เหล่านั้นคัดเลือกกันเองเฉพาะผู้ที่ทรงวิทยาคุณประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมดได้ ๘ คน เพื่อทำนายพระราชกุมาร พราหมณ์ ๗ คนแรก ต่างก็ทำนายไว้ ๒ ประการ คือ “ ถ้าพระราชกุมารเสด็จอยู่ครองเรือนก็จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม หรือถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิตจักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก” ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ผู้มีอายุน้อยกว่าทุกคน ได้ทำนายเพียงอย่างเดียวว่า พระราชกุมารจักเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต แล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก “ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต ( การเสด็จสวรรคตดังกล่าวเป็นประเพณีของผู้ที่เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้า ) พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบหมายให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา เป็นผู้ถวายอภิบาลเลี้ยงดู เมื่อพระสิทธัตถะทรงพระเจริญมีพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตร ซึ่งมีเกียรติคุณแพร่ขจรไปไกลไปยังแคว้นต่างๆ เพราะเปิดสอนศิลปวิทยาถึง ๑๘ สาขา เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาเหล่านี้ได้อย่างว่องไว และเชี่ยวชาญจนหมดความสามารถของพระอาจารย์
อภิเษกสมรส ด้วยพระราชบิดามีพระราชประสงค์มั่นคงที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงครองเพศฆราวาสเป็นพระจักพรรดิผู้ทรงธรรม จึงพระราชทานความสุขเกษมสำราญ แวดล้อมด้วยความบันเทิงนานาประการแก่พระราชโอรสเพื่อผูกพระทัยให้มั่นคงในทางโลก เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะมีพระราชดำริว่าพระราชโอรสสมควรจะได้อภิเษกสมรส จึงโปรดให้สร้างปราสาทอันวิจิตรงดงามขึ้น ๓ หลัง สำหรับให้พระราชโอรสได้ประทับอย่างเกษมสำราญตามฤดูกาลทั้ง ๓ คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แล้วตั้งชื่อปราสาทนั้นว่า รมยปราสาท สุรมยปราสาท และสุภปราสาทตามลำดับ และทรงสู่ขอพระนางพิมพาหรือยโสธรา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตา แห่งเทวทหะนคร ในตระกูลโกลิยวงค์ ให้อภิเษกด้วย เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติ จนพระชนมายุมายุได้ ๒๙ พรรษา พระนางพิมพายโสรธาจึงประสูติพระโอรส พระองค์มีพระราชหฤทัยสิเนหาในพระโอรสเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงการประสูติของพระโอรสพระองค์ตรัสว่า “ ราหุล ชาโต, พันธน ชาต , บ่วงเกิดแล้ว , เครื่องจองจำเกิดแล้ว “
ออกบรรพชา เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้มีพระบารมีอันบริบูรณ์ ถึงแม้พระองค์จะทรงพรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติมหาศาลก็มิได้พอพระทัยในชีวิตคฤหัสถ์ พระองค์ยังทรงมีพระทัยฝักใฝ่ใคร่ครวญถึงสัจธรรมที่จะเป็นเครื่องนำทางซึ่งความพ้นทุกข์อยู่เสมอ พระองค์ได้เคยสด็จประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง ๔ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต พระองค์จึงสังเวชพระทัยในชีวิต และพอพระทัยในเพศบรรพิต มีพระทัยแน่วแน่ที่จะทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาโมกขธรรมอันเป็นทางดับทุกข์ถาวรพ้นจากวัฏสงสารไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ พร้อมด้วยนายฉันนะ มุ่งสู่แม่น้ำอโนมานที แคว้นมัลละ รวมระยะทาง ๓๐ โยชน์ (ประมาณ ๔๘๐ กิโลเมตร ) เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต และทรงมอบหมายให้นายฉันนะนำเครื่องอาภรณ์และม้ากัณฐกะกลับนครกบิลพัสดุ์
เข้าศึกษาในสำนักดาบส ภายหลังที่ทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้ประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละเป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จมาเฝ้าพระองค์ ณ เงื้อมเขาปัณฑวะ ได้ทรงเห็นพระจริยาวัตรอันงดงามของพระองค์ก็ทรงเลื่อมใส และทรงทราบว่าพระสมณสิทธัตถะทรงเห็นโทษในกาม เห็นทางออกบวชว่าเป็นทางอันเกษม จะจาริกไปเพื่อบำเพ็ญเพียร และทรงยินดีในการบำเพ็ญเพียรนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสว่า “ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน และเมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดเสด็จมายังแคว้นของกระหม่อมฉันเป็นแห่งแรก “ซึ่งพระองค์ก็ทรงถวายปฏิญญาแด่พระเจ้าพิมพิสาร
การแสวงหาธรรมระยะแรกหลังจากทรงผนวชแล้ว สมณสิทธัตถะได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระองค์ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร ทรงได้สมาบัติคือ ทุติยฌาน ตติยฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน และอากิญจัญญายตนฌาน ส่วนการประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักอุทกดาบส รามบุตร นั้นทรงได้สมาบัติ ๘ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สำหรับฌานที่ ๑ คือปฐมฌานนั้น พระองค์ทรงได้ขณะกำลังประทับขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ใต้ต้นหว้า เนื่องในพระราชพิธีวัปปมงคล ( แรกนาขวัญ ) เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากทั้งสองสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงทราบว่ามิใช่หนทางพ้นจากทุกข์ บรรลุพระโพธิญาณ ตามที่ทรงมุ่งหวัง พระองค์จึงทรงลาอาจารย์ทั้งสอง เสด็จไปใกล้บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
บำเพ็ญทุกรกิริยา “ ทุกร “ หมายถึง สิ่งที่ทำได้ยาก “ ทุกรกิริยา” หมายถึงการกระทำกิจที่ทำได้ยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ” เมื่อพระองค์ทรงหันมาศึกษาค้นคว้าด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแทนการศึกษาเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ ณ ทิวเขาดงคสิริ ใกล้ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรานั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการบำเพ็ญอย่างยิ่งยวดในลักษณะต่างๆเช่น การอดพระกระยาหาร การทรมานพระวรกายโดยการกลั้นพระอัสสาสะ พระปัสสาสะ ( ลมหายใจ ) การกดพระทนต์ การกดพระตาลุ ( เพดาน) ด้วยพระชิวหา (ลิ้น) เป็นต้น พระมหาบุรุษได้ทรงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังมิได้ค้นพบสัจธรรมอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ พระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง ในการคิดค้นวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์ คือ พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นผู้คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยหวังว่าพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดความรู้บ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษเลิกล้มการบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นครพาราณสี เป็นผลให้พระองค์ได้ประทับอยู่ตามลำพังในที่อันสงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติดำเนินทางสายกลาง คือการปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร นั่นเอง
ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เวลารุ่งอรุณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ( เดือนวิสาขะ) ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร)ด้วยอาการอันสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายข้าวมธุปายาส แล้วพระองค์เสด็จไปสู่ท่าสุปดิษฐ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสแล้วลงสรงสนานชำระล้างพระวรกาย แล้วทรงผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ หลังจากเสวยแล้วพระองค์ทรงจับถาดทองคำขึ้นมาอธิษฐานว่า “ ถ้าเราจักสามารถตรัสรู้ได้ในวันนี้ ก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป แต่ถ้ามิได้เป็นดังนั้นก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยไปตามกระแสน้ำเถิด “ แล้วทรงปล่อยถาดทองคำลงไปในแม่น้ำ ถาดทองคำลอยตัดกระแสน้ำไปจนถึงกลางแม่น้ำเนรัญชราแล้วลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก จึงจมลงตรงที่กระแสน้ำวน ในเวลาเย็นพระองค์เสด็จกลับมายังต้นโพธิ์ที่
ประทับ คนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะได้ถวายหญ้าปูลาดที่ประทับ ณ ใต้ต้นโพธิ์ พระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า “ แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตาม ถ้ายังไม่บรรลุธรรมวิเศษแล้ว จะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด “ เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานเช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ มีพระสติตั้งมั่น มีพระวรกายอันสงบ มีพระหทัยแน่วแน่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนโยน เหมาะแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ( ญาณเป็นเหตุระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยในชาติปางก่อนได้ )ในปฐมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่อจูตุปาตญาณ ( ญาณกำหนดรู้การตาย การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ) ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่ออาสวักขยญาณ ( ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลสทั้งหลาย) คือทรงรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตของพระองค์ก็ทรงหลุดพ้นจากกามสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วพระองค์ก็ทรงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ทรงรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นั่นคือพระองค์ทรงบรรลุวิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ ในปัจฉิมยาม แห่งราตรีนั้นเอง ซึ่งก็คือการตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากการที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาอย่างยิ่งยวด พระองค์ทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ขณะพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา นับแต่วันที่สด็จออกผนวชจนถึงวันตรัสรู้ธรรม รวมเป็นเวลา ๖ ปี พระธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ ๔ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ประกาศพระศาสนาครั้งแรก
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงเสวยวิมุติสุข ณ บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ทรงรำพึงว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้เป็นการยากสำหรับคนทั่วไป จึงทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ประกาศธรรม พระสหัมบดีพรหมทราบวาระจิตของพระองค์จึงอาราธนาให้โปรดมนุษย์ โดยเปรียบเทียบมนุษย์เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า และในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่สามารถรู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังมีอยู่ “ พระพุทธเจ้าจึงทรงน้อมพระทัยไปในการแสดงธรรม แล้วเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงปฐมเทศนา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ( เดือนอาสาฬหะ) เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ในขณะที่ทรงแสดงธรรม ท่านปัญญาโกณฑัณญะได้ธรรมจักษุ คือบรรลุพระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า “ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ” พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
การประกาศพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ และสาวกอื่นๆซึ่งต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จำนวน ๖๐ องค์แล้ว และเป็นช่วงที่ออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นสมควรว่าจะออกไปประกาศพระศาสนาให้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีพุทธบัญชาให้สาวกทั้ง ๖๐ องค์ จาริกออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยให้ไปแต่เพียงลำพัง แม้พระองค์ก็จะเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในการออกจาริกประกาศ พระศาสนาครั้งนั้นทำให้กุลบุตรในดินแดนต่างๆหันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและขอบรรพชา อุปสมบทเป็นอันมาก ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สาวกเหล่านั้นสามารถอุปสมบทให้แก่กุลบุตรได้ เรียกว่า “ ติสรณคมนูปสัมปทา คืออุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาตนเป็นผู้ถึงไตรสรณคมน์” พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา
พรรษาที่ ๑ ที่พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสาวกและได้อรหันตสาวกจำนวน ๖๐ องค์แล้ว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาคุณทำการประกาศเผยแผ่คำสอน จนเกิดพุทธบริษัท ๔ อันมี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อย่างแพร่หลายและมั่นคง การประกาศพระพุทธศาสนาของพระองค์ได้ดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง โดยการจาริกไปยังหมู่บ้านชนบทน้อยใหญ่ในแคว้นต่างๆทั่วชมพูทวีปพรรษาที่ ๒ พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประชาชน ได้พุทธสาวกดังนี้ เสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางได้โปรดกลุ่มภัททวัคคีย์ ๓๐ คน ที่ตำบลอุรุเวลาได้โปรดชฎิล ๓ พี่น้องคือ อุรุเวกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ กับศิษย์ อีก ๑๐๐๐ คน ทรงเทศนาอาทิตตปริยายสูตร ที่คยาสีสะ แล้วเสด็จไปยังนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวันเป็นที่อาศัยแด่คณะสงฆ์ และได้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก ๒ เดือนต่อมาเสด็จไปยังนครกบิฬพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธาราม ทรงได้สาวกอีกมากมาย เช่น พระนันทะ พระราหุล พระอานนท์ พระเทวทัต และพระญาติอื่นๆ ต่อมาอนาถปิณฑิกะเศรษฐีอาราธนาไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ได้ถวายสวนเชตวันแด่คณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่นี่ พรรษาที่ ๓ นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่ พรรษาที่ ๔ ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ พรรษาที่ ๕ เสด็จโปรดพระราชบิดาจนได้บรรลุอรหัตตผล และทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโหริณี ต่อมาทรงอุปสมบทพระนางประชาบดีโคตมี และคณะเป็นภิกษุณี พรรษาที่ ๖ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในกรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษา ณ ภูเขามังกลุบรรพต พรรษาที่ ๗ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาได้เสด็จไปทรงเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรรษาที่ ๘ ทรงเทศนาในแคว้นมัคคะ ทรงจำพรรษาในเภสกลาวัน พรรษาที่ ๙ ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี พรรษาที่ ๑๐ คณะสงฆ์ในแคว้นโกสัมพีแตกแยกกันอย่างรุนแรง พระพุทธองค์ทรงตักเตือนแต่คณะสงฆ์ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่าปาลิไลยยกะ มีช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา พรรษาที่ ๑๑ เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา พรรษาที่ ๑๒ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา และเกิดความอดอยากรุนแรงขึ้นในเวลานั้น พรรษาที่ ๑๓ ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต พรรษาที่ ๑๔ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี พระราหุลขอผนวช พรรษาที่ ๑๕ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุปปพุทธะถูกแผ่นดินสูบเพราะขัดขวางทางโคจร
พรรษาที่ ๑๖ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่อาลวี พรรษาที่ ๑๗ เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี แล้วเสด็จกลับมายังอาลวี และทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ พรรษาที่ ๑๘ เสด็จไปยังอาลวี ทรงจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต พรรษาที่ ๑๙ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่บนภูเขาจาลิกบรรพต พรรษาที่ ๒๐ โจรองคุลิมารกลับใจเป็นสาวก และทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์และทรงเริ่มบัญญัติวินัย พรรษาที่ ๒๑-๔๔ ทรงใช้เชตวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่และเป็นที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่างๆพรรษาที่ ๔๕ เป็นพรรษาสุดท้าย พระเทวทัตคิดปลงพระชนม์ กลิ้งก้อนหินจนต้องพระองค์เป็นเหตุให้พระบาทห้อพระโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวกโกมารภัต
ทรงปรินิพาน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจอยู่จนพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พระองค์เสด็จจำพรรษาสุดท้าย ณ เมืองเวสาลี ในวาระนั้นพระพุทธองค์ทรงพระชราภาพมากแล้วทั้งยังประชวรหนักด้วย พระองค์ได้ทรงพระดำเนินจากเวสาลีสู่เมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองนั้น พระพุทธองค์ได้หันกลับไปทอดพระเนตรเมืองเวสาลีซึ่งเคยเป็นที่ประทับ นับเป็นการทอดทัศนาเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเสด็จต่อไปยังเมืองปาวา เสวยพระกระยาหารเป็นครั้งสุดท้ายที่บ้านนายจุนทะ บุตรนายช่างทอง พระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนักอย่างยิ่ง ทรงข่มอาพาธประคองพระองค์เสด็จถึงสาลวโนทยาน (ป่าสาละ)ของเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก นับเป็นสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และปุถุชน
พระราชา ชาวเมืองกุสินารา และจากแคว้นต่างๆรวมทั้งเทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ พระพุทธองค์ได้มีพระดำรัสครั้งสำคัญว่า “ โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา ” อันแปลว่า “ ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว “ และพระพุทธองค์ได้แสดงปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้าย ที่เราจะกล่าวแก่ท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายทั้งปวงมีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดา . ท่านทั้งหลายจงทำความรอดพ้นให้บริบูรณ์ถึงที่สุด ด้วยความไม่ประมาทเถิด “ แม้เวลาล่วงมาถึงศตวรรษที่ ๒๕ แล้ว นับตั้งแต่พระองค์ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และเสด็จดับขันธปรินิพพานที่นอกเมืองกุสินาราในประเทสอินเดีย แต่คำสั่งสอนอันประเสริฐของพระองค์หาได้ล่วงลับไปด้วยไม่ คำสั่งสอนเหล่านั้นยังคงอยู่ เป็นเครื่องนำบุคคลให้ข้ามพ้นจากความมีชีวิต ขึ้นไปสู่ซึ่งคุณค่ายิ่งกว่าชีวิต คือการพ้นจากวัฏสงสารนั่นเอง หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และมิใช่พระอรหันต์ได้ช่วยบำเพ็ญกรณียกิจเผยแผ่พระพุทธวัจนะอันประเสริฐไปทั่วประเทศอินเดีย และขยายออกไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเป็นจริง มีเหตุผลเชื่อถือได้และ เป็นศาสนาแห่งสันติภาพและเสรีภาพอย่างแท้จริง สรุปพุทธกิจในรอบวันของพระพุทธองค์ ๑. ปุพพณเห ปิณฑปาตญจ ตอนเช้าเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ๒.สายณเห ธมมเทสน ตอนเย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนที่มาเข้าเฝ้า ๓.ปโทเส ภิกขุโอวาท ตอนหัวค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งเก่าและใหม่ ๔.อฑฒรตเต เทวปญหาน ตอนเที่ยงคืนทรงวิสัชชนาปัญหาให้แก่เทวดาชั้นต่างๆ ๕.ปจจสเสว คเต กาเล ภพพาภพเพ วิโลกน ตอนใกล้รุ่งตรวจดูสัตว์โลกที่สามารถและไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แล้วเสด็จไปโปรดถึงที่ แม้ว่าหนทางจะลำบากเพียงใดก็ตาม
การขนานพระนาม และทรงเจริญพระชนม์ พระราชกุมารได้รับการทำนายจากอสิตฤาษีหรือกาฬเทวิลดาบส มหาฤาษีผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นที่ทรงเคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะว่า “ พระราชกุมารนี้เป็นอัจฉริยมนุษย์ มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน บุคคลที่มีลักษณะดังนี้ จักต้องเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิตแล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกเป็นแน่ “ หลังจากประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ประชุมพระประยูรญาติ และเชิญพราหมณ์ ผู้เรียนจบไตรเพท จำนวน ๑๐๘ คน เพื่อมาทำนายพระลักษณะของพระราชกุมาร
พระประยูรญาติได้พร้อมใจกันถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” มีความหมายว่า “ ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ” ส่วนพราหมณ์เหล่านั้นคัดเลือกกันเองเฉพาะผู้ที่ทรงวิทยาคุณประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมดได้ ๘ คน เพื่อทำนายพระราชกุมาร พราหมณ์ ๗ คนแรก ต่างก็ทำนายไว้ ๒ ประการ คือ “ ถ้าพระราชกุมารเสด็จอยู่ครองเรือนก็จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม หรือถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิตจักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก” ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ผู้มีอายุน้อยกว่าทุกคน ได้ทำนายเพียงอย่างเดียวว่า พระราชกุมารจักเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต แล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก “ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต ( การเสด็จสวรรคตดังกล่าวเป็นประเพณีของผู้ที่เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้า ) พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบหมายให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา เป็นผู้ถวายอภิบาลเลี้ยงดู เมื่อพระสิทธัตถะทรงพระเจริญมีพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตร ซึ่งมีเกียรติคุณแพร่ขจรไปไกลไปยังแคว้นต่างๆ เพราะเปิดสอนศิลปวิทยาถึง ๑๘ สาขา เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาเหล่านี้ได้อย่างว่องไว และเชี่ยวชาญจนหมดความสามารถของพระอาจารย์
อภิเษกสมรส ด้วยพระราชบิดามีพระราชประสงค์มั่นคงที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงครองเพศฆราวาสเป็นพระจักพรรดิผู้ทรงธรรม จึงพระราชทานความสุขเกษมสำราญ แวดล้อมด้วยความบันเทิงนานาประการแก่พระราชโอรสเพื่อผูกพระทัยให้มั่นคงในทางโลก เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะมีพระราชดำริว่าพระราชโอรสสมควรจะได้อภิเษกสมรส จึงโปรดให้สร้างปราสาทอันวิจิตรงดงามขึ้น ๓ หลัง สำหรับให้พระราชโอรสได้ประทับอย่างเกษมสำราญตามฤดูกาลทั้ง ๓ คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แล้วตั้งชื่อปราสาทนั้นว่า รมยปราสาท สุรมยปราสาท และสุภปราสาทตามลำดับ และทรงสู่ขอพระนางพิมพาหรือยโสธรา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตา แห่งเทวทหะนคร ในตระกูลโกลิยวงค์ ให้อภิเษกด้วย เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติ จนพระชนมายุมายุได้ ๒๙ พรรษา พระนางพิมพายโสรธาจึงประสูติพระโอรส พระองค์มีพระราชหฤทัยสิเนหาในพระโอรสเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงการประสูติของพระโอรสพระองค์ตรัสว่า “ ราหุล ชาโต, พันธน ชาต , บ่วงเกิดแล้ว , เครื่องจองจำเกิดแล้ว “
ออกบรรพชา เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้มีพระบารมีอันบริบูรณ์ ถึงแม้พระองค์จะทรงพรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติมหาศาลก็มิได้พอพระทัยในชีวิตคฤหัสถ์ พระองค์ยังทรงมีพระทัยฝักใฝ่ใคร่ครวญถึงสัจธรรมที่จะเป็นเครื่องนำทางซึ่งความพ้นทุกข์อยู่เสมอ พระองค์ได้เคยสด็จประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง ๔ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต พระองค์จึงสังเวชพระทัยในชีวิต และพอพระทัยในเพศบรรพิต มีพระทัยแน่วแน่ที่จะทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาโมกขธรรมอันเป็นทางดับทุกข์ถาวรพ้นจากวัฏสงสารไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ พร้อมด้วยนายฉันนะ มุ่งสู่แม่น้ำอโนมานที แคว้นมัลละ รวมระยะทาง ๓๐ โยชน์ (ประมาณ ๔๘๐ กิโลเมตร ) เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต และทรงมอบหมายให้นายฉันนะนำเครื่องอาภรณ์และม้ากัณฐกะกลับนครกบิลพัสดุ์
เข้าศึกษาในสำนักดาบส ภายหลังที่ทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้ประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละเป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จมาเฝ้าพระองค์ ณ เงื้อมเขาปัณฑวะ ได้ทรงเห็นพระจริยาวัตรอันงดงามของพระองค์ก็ทรงเลื่อมใส และทรงทราบว่าพระสมณสิทธัตถะทรงเห็นโทษในกาม เห็นทางออกบวชว่าเป็นทางอันเกษม จะจาริกไปเพื่อบำเพ็ญเพียร และทรงยินดีในการบำเพ็ญเพียรนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสว่า “ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน และเมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดเสด็จมายังแคว้นของกระหม่อมฉันเป็นแห่งแรก “ซึ่งพระองค์ก็ทรงถวายปฏิญญาแด่พระเจ้าพิมพิสาร
การแสวงหาธรรมระยะแรกหลังจากทรงผนวชแล้ว สมณสิทธัตถะได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระองค์ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร ทรงได้สมาบัติคือ ทุติยฌาน ตติยฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน และอากิญจัญญายตนฌาน ส่วนการประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักอุทกดาบส รามบุตร นั้นทรงได้สมาบัติ ๘ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สำหรับฌานที่ ๑ คือปฐมฌานนั้น พระองค์ทรงได้ขณะกำลังประทับขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ใต้ต้นหว้า เนื่องในพระราชพิธีวัปปมงคล ( แรกนาขวัญ ) เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากทั้งสองสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงทราบว่ามิใช่หนทางพ้นจากทุกข์ บรรลุพระโพธิญาณ ตามที่ทรงมุ่งหวัง พระองค์จึงทรงลาอาจารย์ทั้งสอง เสด็จไปใกล้บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
บำเพ็ญทุกรกิริยา “ ทุกร “ หมายถึง สิ่งที่ทำได้ยาก “ ทุกรกิริยา” หมายถึงการกระทำกิจที่ทำได้ยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ” เมื่อพระองค์ทรงหันมาศึกษาค้นคว้าด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแทนการศึกษาเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ ณ ทิวเขาดงคสิริ ใกล้ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรานั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการบำเพ็ญอย่างยิ่งยวดในลักษณะต่างๆเช่น การอดพระกระยาหาร การทรมานพระวรกายโดยการกลั้นพระอัสสาสะ พระปัสสาสะ ( ลมหายใจ ) การกดพระทนต์ การกดพระตาลุ ( เพดาน) ด้วยพระชิวหา (ลิ้น) เป็นต้น พระมหาบุรุษได้ทรงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังมิได้ค้นพบสัจธรรมอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ พระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง ในการคิดค้นวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์ คือ พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นผู้คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยหวังว่าพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดความรู้บ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษเลิกล้มการบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นครพาราณสี เป็นผลให้พระองค์ได้ประทับอยู่ตามลำพังในที่อันสงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติดำเนินทางสายกลาง คือการปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร นั่นเอง
ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เวลารุ่งอรุณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ( เดือนวิสาขะ) ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร)ด้วยอาการอันสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายข้าวมธุปายาส แล้วพระองค์เสด็จไปสู่ท่าสุปดิษฐ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสแล้วลงสรงสนานชำระล้างพระวรกาย แล้วทรงผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ หลังจากเสวยแล้วพระองค์ทรงจับถาดทองคำขึ้นมาอธิษฐานว่า “ ถ้าเราจักสามารถตรัสรู้ได้ในวันนี้ ก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป แต่ถ้ามิได้เป็นดังนั้นก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยไปตามกระแสน้ำเถิด “ แล้วทรงปล่อยถาดทองคำลงไปในแม่น้ำ ถาดทองคำลอยตัดกระแสน้ำไปจนถึงกลางแม่น้ำเนรัญชราแล้วลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก จึงจมลงตรงที่กระแสน้ำวน ในเวลาเย็นพระองค์เสด็จกลับมายังต้นโพธิ์ที่
ประทับ คนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะได้ถวายหญ้าปูลาดที่ประทับ ณ ใต้ต้นโพธิ์ พระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า “ แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตาม ถ้ายังไม่บรรลุธรรมวิเศษแล้ว จะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด “ เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานเช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ มีพระสติตั้งมั่น มีพระวรกายอันสงบ มีพระหทัยแน่วแน่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนโยน เหมาะแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ( ญาณเป็นเหตุระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยในชาติปางก่อนได้ )ในปฐมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่อจูตุปาตญาณ ( ญาณกำหนดรู้การตาย การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ) ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่ออาสวักขยญาณ ( ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลสทั้งหลาย) คือทรงรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตของพระองค์ก็ทรงหลุดพ้นจากกามสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วพระองค์ก็ทรงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ทรงรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นั่นคือพระองค์ทรงบรรลุวิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ ในปัจฉิมยาม แห่งราตรีนั้นเอง ซึ่งก็คือการตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากการที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาอย่างยิ่งยวด พระองค์ทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ขณะพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา นับแต่วันที่สด็จออกผนวชจนถึงวันตรัสรู้ธรรม รวมเป็นเวลา ๖ ปี พระธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ ๔ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ประกาศพระศาสนาครั้งแรก
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงเสวยวิมุติสุข ณ บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ทรงรำพึงว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้เป็นการยากสำหรับคนทั่วไป จึงทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ประกาศธรรม พระสหัมบดีพรหมทราบวาระจิตของพระองค์จึงอาราธนาให้โปรดมนุษย์ โดยเปรียบเทียบมนุษย์เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า และในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่สามารถรู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังมีอยู่ “ พระพุทธเจ้าจึงทรงน้อมพระทัยไปในการแสดงธรรม แล้วเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงปฐมเทศนา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ( เดือนอาสาฬหะ) เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ในขณะที่ทรงแสดงธรรม ท่านปัญญาโกณฑัณญะได้ธรรมจักษุ คือบรรลุพระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า “ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ” พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
การประกาศพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ และสาวกอื่นๆซึ่งต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จำนวน ๖๐ องค์แล้ว และเป็นช่วงที่ออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นสมควรว่าจะออกไปประกาศพระศาสนาให้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีพุทธบัญชาให้สาวกทั้ง ๖๐ องค์ จาริกออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยให้ไปแต่เพียงลำพัง แม้พระองค์ก็จะเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในการออกจาริกประกาศ พระศาสนาครั้งนั้นทำให้กุลบุตรในดินแดนต่างๆหันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและขอบรรพชา อุปสมบทเป็นอันมาก ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สาวกเหล่านั้นสามารถอุปสมบทให้แก่กุลบุตรได้ เรียกว่า “ ติสรณคมนูปสัมปทา คืออุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาตนเป็นผู้ถึงไตรสรณคมน์” พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา
พรรษาที่ ๑ ที่พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสาวกและได้อรหันตสาวกจำนวน ๖๐ องค์แล้ว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาคุณทำการประกาศเผยแผ่คำสอน จนเกิดพุทธบริษัท ๔ อันมี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อย่างแพร่หลายและมั่นคง การประกาศพระพุทธศาสนาของพระองค์ได้ดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง โดยการจาริกไปยังหมู่บ้านชนบทน้อยใหญ่ในแคว้นต่างๆทั่วชมพูทวีปพรรษาที่ ๒ พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประชาชน ได้พุทธสาวกดังนี้ เสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางได้โปรดกลุ่มภัททวัคคีย์ ๓๐ คน ที่ตำบลอุรุเวลาได้โปรดชฎิล ๓ พี่น้องคือ อุรุเวกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ กับศิษย์ อีก ๑๐๐๐ คน ทรงเทศนาอาทิตตปริยายสูตร ที่คยาสีสะ แล้วเสด็จไปยังนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวันเป็นที่อาศัยแด่คณะสงฆ์ และได้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก ๒ เดือนต่อมาเสด็จไปยังนครกบิฬพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธาราม ทรงได้สาวกอีกมากมาย เช่น พระนันทะ พระราหุล พระอานนท์ พระเทวทัต และพระญาติอื่นๆ ต่อมาอนาถปิณฑิกะเศรษฐีอาราธนาไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ได้ถวายสวนเชตวันแด่คณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่นี่ พรรษาที่ ๓ นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่ พรรษาที่ ๔ ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ พรรษาที่ ๕ เสด็จโปรดพระราชบิดาจนได้บรรลุอรหัตตผล และทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโหริณี ต่อมาทรงอุปสมบทพระนางประชาบดีโคตมี และคณะเป็นภิกษุณี พรรษาที่ ๖ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในกรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษา ณ ภูเขามังกลุบรรพต พรรษาที่ ๗ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาได้เสด็จไปทรงเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรรษาที่ ๘ ทรงเทศนาในแคว้นมัคคะ ทรงจำพรรษาในเภสกลาวัน พรรษาที่ ๙ ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี พรรษาที่ ๑๐ คณะสงฆ์ในแคว้นโกสัมพีแตกแยกกันอย่างรุนแรง พระพุทธองค์ทรงตักเตือนแต่คณะสงฆ์ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่าปาลิไลยยกะ มีช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา พรรษาที่ ๑๑ เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา พรรษาที่ ๑๒ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา และเกิดความอดอยากรุนแรงขึ้นในเวลานั้น พรรษาที่ ๑๓ ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต พรรษาที่ ๑๔ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี พระราหุลขอผนวช พรรษาที่ ๑๕ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุปปพุทธะถูกแผ่นดินสูบเพราะขัดขวางทางโคจร
พรรษาที่ ๑๖ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่อาลวี พรรษาที่ ๑๗ เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี แล้วเสด็จกลับมายังอาลวี และทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ พรรษาที่ ๑๘ เสด็จไปยังอาลวี ทรงจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต พรรษาที่ ๑๙ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่บนภูเขาจาลิกบรรพต พรรษาที่ ๒๐ โจรองคุลิมารกลับใจเป็นสาวก และทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์และทรงเริ่มบัญญัติวินัย พรรษาที่ ๒๑-๔๔ ทรงใช้เชตวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่และเป็นที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่างๆพรรษาที่ ๔๕ เป็นพรรษาสุดท้าย พระเทวทัตคิดปลงพระชนม์ กลิ้งก้อนหินจนต้องพระองค์เป็นเหตุให้พระบาทห้อพระโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวกโกมารภัต
ทรงปรินิพาน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจอยู่จนพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พระองค์เสด็จจำพรรษาสุดท้าย ณ เมืองเวสาลี ในวาระนั้นพระพุทธองค์ทรงพระชราภาพมากแล้วทั้งยังประชวรหนักด้วย พระองค์ได้ทรงพระดำเนินจากเวสาลีสู่เมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองนั้น พระพุทธองค์ได้หันกลับไปทอดพระเนตรเมืองเวสาลีซึ่งเคยเป็นที่ประทับ นับเป็นการทอดทัศนาเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเสด็จต่อไปยังเมืองปาวา เสวยพระกระยาหารเป็นครั้งสุดท้ายที่บ้านนายจุนทะ บุตรนายช่างทอง พระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนักอย่างยิ่ง ทรงข่มอาพาธประคองพระองค์เสด็จถึงสาลวโนทยาน (ป่าสาละ)ของเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก นับเป็นสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และปุถุชน
พระราชา ชาวเมืองกุสินารา และจากแคว้นต่างๆรวมทั้งเทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ พระพุทธองค์ได้มีพระดำรัสครั้งสำคัญว่า “ โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา ” อันแปลว่า “ ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว “ และพระพุทธองค์ได้แสดงปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้าย ที่เราจะกล่าวแก่ท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายทั้งปวงมีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดา . ท่านทั้งหลายจงทำความรอดพ้นให้บริบูรณ์ถึงที่สุด ด้วยความไม่ประมาทเถิด “ แม้เวลาล่วงมาถึงศตวรรษที่ ๒๕ แล้ว นับตั้งแต่พระองค์ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และเสด็จดับขันธปรินิพพานที่นอกเมืองกุสินาราในประเทสอินเดีย แต่คำสั่งสอนอันประเสริฐของพระองค์หาได้ล่วงลับไปด้วยไม่ คำสั่งสอนเหล่านั้นยังคงอยู่ เป็นเครื่องนำบุคคลให้ข้ามพ้นจากความมีชีวิต ขึ้นไปสู่ซึ่งคุณค่ายิ่งกว่าชีวิต คือการพ้นจากวัฏสงสารนั่นเอง หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และมิใช่พระอรหันต์ได้ช่วยบำเพ็ญกรณียกิจเผยแผ่พระพุทธวัจนะอันประเสริฐไปทั่วประเทศอินเดีย และขยายออกไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเป็นจริง มีเหตุผลเชื่อถือได้และ เป็นศาสนาแห่งสันติภาพและเสรีภาพอย่างแท้จริง สรุปพุทธกิจในรอบวันของพระพุทธองค์ ๑. ปุพพณเห ปิณฑปาตญจ ตอนเช้าเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ๒.สายณเห ธมมเทสน ตอนเย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนที่มาเข้าเฝ้า ๓.ปโทเส ภิกขุโอวาท ตอนหัวค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งเก่าและใหม่ ๔.อฑฒรตเต เทวปญหาน ตอนเที่ยงคืนทรงวิสัชชนาปัญหาให้แก่เทวดาชั้นต่างๆ ๕.ปจจสเสว คเต กาเล ภพพาภพเพ วิโลกน ตอนใกล้รุ่งตรวจดูสัตว์โลกที่สามารถและไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แล้วเสด็จไปโปรดถึงที่ แม้ว่าหนทางจะลำบากเพียงใดก็ตาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)