บทสวดมนต์และคาถาชินบัญชร
บทนมัสการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น.
อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว.
ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(กราบ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ๆ
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถาเทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ
เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหิติ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโน สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทินัง
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ
คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี)
ตั้งนะโม 3 จบ
ปุตตะกาโมละเภปุตโต ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวชสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
1
ชะยาสะนาคะตา พุทธา, เชตะวา มารัง สะวาหะนัง, จะตุสัจจา สะภัง ระสัง, เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
พระพุทธเจ้าและพระนราสภทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยายมาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนา ราชพาหนะ แล้วเสวยอมตรส คือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
2
ตัณหังกะราทะโย พุทธา, อัฏฐะวีสะติ นายะกา, สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง, มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
มี 28 พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
3
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง, พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน, สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง, อุเร สัพพะคุณากะโร.
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก
4
หะทะเย เม อะนุรุทโธ, สารีปุตโต จะ ทักขิเณ, โกณฑัณโญ ปิฏฐิภาคัสมิง, โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
5
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง, อาสุง อานันทะราหุโล, กัสสะโป จะ มะหานาโน, อุภาสุง วามะโสตะเก.
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
6
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง, สุริโย วะ ปะภังคดโร, สิสินโน สิริสัมปันโน, โสภิโต มุนิปุงคะโว.
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
7
กุมระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง, ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มี วาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
8
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ, อุปาลีนันทสีวะสี, เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา, นะลาเต ตีละกา มะมะ.
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
9
เสสาสีติ มะหาเถรา, วิชิตา ชินะสะวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา, ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ, อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
10
ระตะนัง ปุระโต อาสิ, ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง, ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ, วาเม อังคุลิมาละกัง.
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง
11
ขันธะโมระปะริตตัญจะ,อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ, เสสา ปาการะสัณฐิตา.
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
12
ชินานาวะระสังยุตตา สัตตะปะการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา, พาหิรัชฌัตตุปัทวา.
อนึ่ง พระชินเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการเป็นอาภรณ์ มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
13
อะเสสา วินะยัง ยันตุ, อะนันตะชินะเตชะสา, วะสะโตเม, สะกิจเจนะ, สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชิตเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลม และโรคดี เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
14
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ, วิหะรันตัง มะฮี ตะเล, สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระเจ้าผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล
15
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย.
ข้าพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
16
สัทธัมมานุภาวะปะลิโต, จะรามิ ชินะปัญชะเรติฯ
ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.
******************************************************************
วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น