วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความคิดสร้างสรรค์


ความคิดสร้างสรรค์

ศักยภาพของบุคคลนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ การคิด (Thinking) และการแสดงออกในทางปฏิบัติ (Execution) ซึ่งทั้ง 2 ประการดังกล่าว มีสมองเป็นกลไกที่สำคัญที่สุด นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า สมองแต่ละซีกของมนุษย์มีคุณสมบัติแตกต่างกัน คือ สมองซีกซ้าย มีหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณ ค้นหาเหตุผลการวิเคราะห์ และการสั่งการเป็นต้น สมองซีกขวา มีหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ จังหวะ ดนตรี สีสัน และมาตราวัดต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวว่าคน ที่จะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้มี มันสมองดีจริงนั้น จะต้องประกอบไปด้วยองค์ 3 คือ (1) คิดเร็ว (2) คิดถูก (3) ตนเองทำได้สำเร็จตาม ความคิดนั้น ความทรงจำ (Memorizing) ความจำ คือกระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเรียกข้อมูลออกมาใช้ ซึ่งอาจเกิดจากสัญชาตญาณหรือการสั่งสมประสบการณ์ภายในระบบประสาท ความจำจึงเป็น หน่วยหนึ่งของกิจกรรมทางสมอง ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับระบบทางความคิด คุณสมบัติพื้นฐานของการจำ 1. สมาธิ (Concentration) เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ก่อให้เกิดการจำ ผู้ที่มีสมาธิดีย่อมจำ สิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ไม่มีสมาธิ 2. การท่องจำ (Memorizing) เป็นวิธีการพื้นฐานดีที่สุดที่ก่อให้เกิดการจำ การท่องหรือทบทวนบ่อยๆ โดยเฉพาะสิ่งที่จำยาก เช่น หัวข้อยาวๆ หรือสูตรทางคณิตศาสตร์ สั่งจ่ายจำ 1. นอกจากสมาธิและการท่องจำแล้วยังมีปัจจัยอื่น เช่นการได้ยิน ได้ฟัง ประสบการณ์การที่เกิดขึ้นบ่อยๆ 2. ความสนใจ (Interest) หรือความชอบต่อสิ่งใดๆ ย่อยก่อให้เกิดความเอาใจใส่ ต่อสิ่งนั้นๆ ส่งผลให้จำได้ง่าย 3. ความประทับใจ (Impress) หรือฝังใจสิ่งใดๆ ย่อยจดจำสิ่งนั้นได้นาน เทคนิควิธีการจำ 1. วิธีการเชิงซ้อน (Stack Method) ได้แก่ นำสิ่งที่จะจำมาทำเป้นมโนภาพวางซ้อนกันเป็นลำดับไป เช่น ของ 5 รายการ ได้แก่ 1. ถาด 2. กะทะ 3. กาละมัง 4. แป้ง 5. สมุด จากรายการดังกล่าว วิธีจำคือ นึกภาพอันดับแรกเอกาถาดวางไว้ใต้สุด แล้วนึกภาพ กะทะวางซ้อนไว้บนถาด กาละมังวางซ้อนบนกะทะแล้วใส่แป้งในกาละมัง จากนั้นเอาสมุดซ้อนลงบนแป้งเป็นลำดับสุดท้าย วิธีนี้ใช้กับการจำสิ่งของไม่มากนัก 2. วิธีสร้างฐาน (Bases Method) คือ การสร้างฐานความจำไว้ในแต่ละฐานเป็นอันดับแน่นอนแล้วนำข้อมูลที่จะจำ สร้างเป็นภาพบรรจุหรือผูกไว้กับฐานความจำ วิธีการสร้างฐานนี้ สิ่งแรกที่จะต้องทำได้แก่การสร้างฐานความจำขึ้นไว้ความจำนวนที่ต้องการ เช่น สร้างไว้ 5 ฐาน ดังนี้ ฐาน 1 เตียง ฐาน 2 เก้าอี้ ฐาน 3 โต๊ะ ฐาน 4 ตู้เสื้อผ้า ฐาน 5 ประตู สมมติจำข้อมูลที่จะจำมีเพียง 5 รายการ (ดังตัวอย่างในวิธีเชิงซ้อน) เรานึกภาพถาดบรรจุไว้กับเตียง กะทะบรรจุไว้กับเก้าอี้ กาละมังบรรจุไว้กับโต๊ะเป็นลำดับต่อไป จะทำให้จำได้ว่า ข้อมูลที่จะจำนั้นคืออะไร รวมทั้งอยู่ในอันดับใดด้วย ฐานความจำดังกล่าวต้องสร้างไว้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งใจเป็นจำนวน กี่ฐานก็ได้ตามแต่จะต้องการว่าข้อมูลมากน้อยเพียงใด และเมื่อไม่ต้องการจำอีกต่อไป ก็ล้างข้อมูล ดังกล่าวไปจากฐานความจำเสีย แต่ฐานความจำนั้นคงไว้ตลอดไป เพื่อจดจำข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการ ความคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking) มีกฎอยู่ 4 ข้อ ดังนี้ 1. คิดอย่างมีหลัก หากไม่มีหลักจะทำให้โลเล สับสน 2. คิดอย่างมีเหตุผล เช่น เหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สามารถพิสูจน์ได้ เหตุผลในเชิงตรรกวิทยาคือ การค้นหาความจริงจากเงื่อนไข เหตุปัจจัย ความเป็นไปได้หรือไม่ได้และเหตุผลในเชิงกลยุทธ์ 3. คิดอย่างมีการจัดระเบียบ 4. คิดอย่างเป็นกระบวนการ การวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ลักษณะของการคิดวิเคราะห์ 1. มีเหตุผล (Rational) 2. คาดคะเนได้ (Predictable) 3. มีขอบเขต (Convergent) 4. เป็นแนวส่ง (Vertical) ความคิดเชิงวิเคราะห์ห้ามใช้การคาดเดาและจินตนาการ ระดับข้อมูล 1. ข้อเท็จจริง ð ความเป็นจริงในอดีตและในปัจจุบัน 2. การอ้างอิง ð ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิง 3. การคาดการณ์ ð ยืนยันไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงในอนาคต 4. ความคิดเห็น ð ยืนยันไม่ได้เพราะเป็นความคิดของแต่ละคน 5. ข้อกล่าวอ้าง ð ยืนยันไม่ได้ 6. ความรู้สึก ð ยืนยันไม่ได้ 7. ความเชื่อ ð ยืนยันไม่ได้ วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วให้จำแนก หรือจัดกลุ่มแล้วจัดลำดับความสำคัญ โดยนำมา เปรียบเทียบซึ่งจะต้องมีเกณฑ์เข้ามาจับ แล้วซึ่งน้ำหนักความสำคัญ ความน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน วิธีวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์จะต้องประเมินถึงความสำคัญความน่าจะเป็น ซึ่งต้องอาศัยข้อมูล เชิงประจักษ์ความเป็นไปได้ แล้วจับจุดที่เป็นกุญแจสำคัญให้ได้ เพื่อหาข้อสรุป อุปสรรคในการวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ปัญหาที่เป็นอุปสรรคได้แก่ การขาดวิธีคิด ไม่มี หลักการหรือหลักวิชา การใช้เหตุผล ความรอบคอบ เครื่องมือต่างๆ และขาดมิติในทางลัด การวิพากษ์ (Critical Thinking) คือ การเผยแพร่ข้อมูลทุกด้านทั้งด้านบวกและด้านลบ ประกอบตามคิดเห็น ซึ่งข้อเสนอแนะนี้จะเป็นความคิดสร้างสรรค์ อุปสรรคต่อการคิดเชิงวิพากษ์ 1. ขาดจุดยืน 2. ขาดความกล้าหาญ 3. ชอบสอพลอ 4. เจ้าอารมณ์ 5. ทำตัวเป็นกาฝาก คือ เชื่อข้อมูลคนอื่น 6. เป็นมือสมัครเล่น คือ การไม่ใช้ข้อมูล 7. หลงตัวเอง คือ ตัวเองเก่งเสมอ จินตนาการ (Imaginative Thinking) คือ การคิดที่เป็นรูปภาพและเรื่องราวปัจจุบัน เราเจริญได้เพราะบรรพบุรุษของเรา มีจินตนาการ ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดจินตนาการคือ ความจำ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) คือ ความคิดที่แปลกแตกต่าง เป็นสิ่งใหม่และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ การก่อรูปความคิดสร้างสรรค์ 1 สะสม คือ การสั่งสมความรู้ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ 2. บ่มเพาะ คือ ครุ่นคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ 3. สุกงอม คือ ปล่อยความคิด 4. จุดประกาย คือ เกิดความคิดใหม่ 5. เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผิดแปลกแตกต่างจากเดิม เกิดความคิดสิ่งใหม่ขึ้นมา 6. ตกผลัก คือ การเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างกระจ่างชัด 7. ขับเคลื่อน คือ นำความคิดนั้นไปสู่รูปธรรม 8. สู่นวัตกรรม คือ เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา เทคนิคการฝึกความคิดสร้างสรรค์ 1. ใช้ความคิดตลอดเวลา โดยตั้งคำถามและหาเหตุผลในคำตอบ 2. ฝึกการคิดอย่างรอบด้าน ไม่ยึดติดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงด้านเดียว 3. สลัดความคิดครอบงำ โดยไม่จำกัดกรอบความคิดของตนเองไว้กับความ เคยชินเก่า ๆ 4. จัดระบบความคิด โดยหาเหตุผลจัดระบบความคิดการเปรียบเทียบ การมองหลายมิติ หรือค้นหาความจริง 5. ยึดมั่นในหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ ฟัง คิด ถาม เขียน ซึ่งอาจใช้การระดมสมองเป็นตัวกระตุ้น 6. ฝึกความเป็นคนช่างสังเกตจดจำ เป็นการสั่งสมประสบการณ์และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ 7. ฝึกการระดมพลังสมอง เป็นการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล หลายๆ ฝ่าย 8. พยายามสร้างโอกาสแห่งความบังเอิญ คือ บางสิ่งไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย อาจจะเป็นคำตอบต่อปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นได้ 9. ไม่กลัวความล้มเหลวหรือการเสียหน้า เพราะการเสนอความคิดเห็นไม่มีถูก หรือผิด 10. ไม่ย้ำรอยอยู่แต่ความสำเร็จเดิม เช่น การกระทำทุกอย่างเมื่อเห็นว่าดี ประสบความสำเร็จแล้ว ต่อไปควรจะพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยวิธีการใหม่ เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 1. ทฤษฎีกระดาษเปล่า (Blank paper theory) หมายถึงการไม่ตีกรอบความคิดผู้อื่น ไม่คิดถึงปัญหา อุปสรรค ขีดจำกัดหรือ ความเป็นไปไม่ได้ 2. การรวมและการแยก (Integrate & Separate) คือ การรวมกันจะเกิดอะไรขึ้น ดีขึ้นไหม หรือทำอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าหากแยกกันจะเกิดอะไรขึ้น มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนและทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร 3. การตั้งคำถาม (Inquiry) - ถามเหตุผล ว่าทำไม - ถามสมมุติ ถ้าเป็นอย่างนี้และจำทำอย่างไร - ถามเปรียบเทียบเชิงพัฒนา เช่น - อะไรที่คนอื่นทำแล้วแต่เรายังไม่ได้ทำ - เราทำได้ไหมและจะต้องรีบทำอะไร - อะไรที่เราทำแล้วแต่คนอื่นทำดีกว่า - ถามต่อเนื่อง เช่น ทำอะไร ทำได้ไหม ทำอย่างไร จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร 4. การเลียนแบบ (Synetics) คือ การทำให้แตกต่าง ก้าวหน้า ดีกว่าเดิมแล้วกระโดดไปสู่สิ่งใหม่ 5. การเพิ่มมูลคำ (Value Added) เช่น ปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าของเดิม แปรรูปจากของเดิมเป็นสิ่งใหม่นำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ โดยทำให้เสียน้อยที่สุดและมีการประกันความเชื่อมั่นใน สิ่งนั้น ความคิดเชิงสัมพันธ์ (Relative Thinking) กฎข้อที่ 1 ทุกสรรพสิ่งไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่ได้โดดๆ ล้วนต้องเกี่ยวเนื่องผูกพันกับสิ่งอื่น กฎข้อที่ 2 ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความแตกต่าง กฎข้อที่ 3 ทุกสรรพสิ่งอยู่ได้ด้วยเอกภาพด้านตรงกันข้าม กฎข้อที่ 4 ทุกสรรพสิ่งย่อมมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง กฎข้อที่ 5 สิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลการกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่งเสมอ กฎข้อที่ 6 ไม่มีสิ่งใดสูญหายไปจากจักรวาล กฎข้อที่ 7 ไม่มีสิ่งใดยืนยงอยู่ได้ตลอดกาล ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) คือ การคิดหาวิธีเอาชนะข้อจำกัดและคู่แข่งขัน กลยุทธ์ ที่นิยมใช้คือ DOSO D ð Downsizing คือ ทำให้เล็กลงมีประสิทธิภาพสูงขึ้น O ð Outsourceing คือ การใช้แรงงานหรือวัสดุจากภายนอก เช่น สถานที่ราชการ จ้างบริษัททำความสะอาด S ð Speed คือ เพิ่มความเร็วขึ้น O ð One – stop service คือ จุดเดียวจบ นอกจากกลยุทธ์แบบ DOSO แล้วที่น่าสนใจ คือ หลักการ 3 ยุทธ คือ 1. ยุทธปัจจัย ซึ่งมีคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด 2. ยุทธศาสตร์ คือ หลักการและแนวทาง 3. ยุทธวิธี คือ วิธีการที่จะใช้แนวทาง ยุทธปัจจัย ขาด ยุทธศาสตร์ไม่ดี ยุทธวิธีแย่ก็แพ้ทั้งปี วิสัยทัศน์ (Vision) วิสัยทัศน์ คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด ทัศนวิสัย คือ การมองเห็นสุดสายตาที่มองเห็น นิสัยที่เป็นปัญหาต่อการมีวิสัยทัศน์ 1. กลัวผิด ð ไม่กล้าแสดงความคิดของตนเอง 2. กลัวเสียหน้า ð คิดอะไรเพื่อต้องการ ถ้ายกยอทั้งๆ ที่ไม่ถูกต้อง 3. คิดว่าตัวเองฉลาด ð คนอื่นโง่ ตัวเองถูก 4. แพ้ไม่เป็น ð ไม่ยอมรับความคิดผู้อื่น อคติ 5. โวยวายก้าวร้าว ð ใช้อารมณ์เหนือความคิด 6. เป็นตัวปัญหา ð เป็นคนชอบคัดค้านความคิดผู้อื่น 7. ชาล้นถ้วย ð ไม่ยอมรับสิ่งที่ดีกว่าแม้กระทั่งความรู้ ความคิดจากผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น: