วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ระบบการบำรุงรักษา(Maintenance system)


- ทบทวน MTTR / MTBF
- การคำนวณค่าดัชนีการบำรุงรักษาเครื่องจักร / อุปกรณ์
(Maintenance System)

1. วัตถุประสงค์
เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องจักร/อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องครบถ้วน ให้มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำในการใช้งานตรงตามข้อกำหนด

2. ขอบข่าย
คู่มือนี้ครอบคลุม การบำรุงรักษาเครื่องจักร การซ่อมแซมกรณีเครื่องจักรเสียหาย และการปรับปรุงประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักร การวัดผล การบำรุงรักษา การปรับปรุงและพัฒนาระบบงานบำรุงรักษา

3. นิยาม
3.1 เครื่องจักรหลัก (Main Machine) หมายถึง เครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้ในการเปลี่ยนรูป หรือขึ้นรูปวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต
3.2 เครื่องจักรเสริมการผลิต (Supporting Machine) หมายถึง เครื่องจักรที่ใช้เสริม หรืออำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิต เช่น เครื่องอัดอากาศ, Air Compressor เป็นต้น
3.3 การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) หมายถึง การบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการเสียหายของเครื่องจักร หรือเกิดชำรุดในระหว่างการผลิต เป็นการบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance) โดยมีการกำหนดเป็นแผนการบำรุงรักษาไว้ ได้แก่ การบำรุงรักษาแบบประจำวัน (Daily), การบำรุงรักษาตามกำหนด (Schedule), การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive)
3.4 การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) หมายถึง การบำรุงรักษาโดยการตรวจสอบ/ตรวจวัด การเสื่อมสภาพของเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อหาแนวโน้มของสิ่งผิดปกติ รับรู้สภาพเครื่องจักร เพื่อคาดคะเนและวางแผนการซ่อมบำรุงล่วงหน้า โดยอาจจะใช้วิธีการ วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาจากประวัติเครื่องจักร, ประวัติการซ่อมบำรุง, ตรวจวัดสภาพเครื่องจักร, บันทึกผลการตรวจวัด, วิเคราะห์ผลการตรวจวัด และแก้ไขปัญหา
3.5 การบำรุงรักษากรณีเสียหายกระทันหัน (Brake Down Maintenance) หมายถึง การซ่อมแซม, การเปลี่ยนอะไหล่ กรณีเครื่องจักรเสียหายกระทันหันเพื่อให้เครื่องจักรสามารถใช้งานได้ตามปกติ และมีประสิทธิภาพเหมือนเดิมโดยเร่งด่วน
3.6 การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข/ปรับปรุง (Corrective Maintenance) หมายถึง การบำรุงรักษาเพิ่มเติม หรือซ่อมแซมแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้งาน ตลอดจนป้องกันการเสียหายซ้ำของเครื่องจักร
3.7 การป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Prevention) หมายถึง กิจกรรมในการบำรุงรักษาโดยการบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ผล ออกแบบ ตลอดจนแก้ไขเพื่อให้เครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อให้มีการบำรุงรักษาน้อยลง และมีประสิทธิภาพสูงตลอดอายุใช้งาน
3.8 ประสิทธิภาพเครื่องจักรโดยรวม (Overall Equipment Efficiency หรือ O.E.E) หมายถึง ประสิทธิภาพในการผลิตของเครื่องจักรทุกเครื่องในสายการผลิตทั้งหมด ซึ่งคำนวณได้จาก อัตราเดินเครื่อง (Availibility) x อัตราสมรรถนะ (Performance Rate) x อัตราคุณภาพ (Quality Rate)
3.9 ระยะเวลาเฉลี่ยของการซ่อม (Mean Time To Repair หรือ MTTR) หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ย ของการหยุดเครื่องเพื่อซ่อมแซม โดยนำเวลาที่ใช้เพื่อซ่อมแซมทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อตรวจสอบความสามารถ ความยากง่ายของการซ่อมบำรุง
3.10 ระยะเวลาเฉลี่ยของการเกิดเหตุขัดข้อง (Mean Time Between Failure หรือ MTBF) หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยของการเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องจักรแต่ละครั้ง เช่น 1 เดือน / ครั้ง, 3 เดือน / ครั้ง โดยใช้ช่วงระยะเวลาการเกิดการขัดข้องแต่ละช่วงมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อแสดงความเชื่อถือได้ของเครื่องจักร

4. หน้าที่ความรับผิดชอบ
4.1 พนักงานประจำเครื่อง - บำรุงรักษาประจำวัน Check Sheet
4.2 พนักงานซ่อมบำรุง - บำรุงรักษาเครื่องจักรตามแผนที่กำหนด
4.3 หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง - บัญชีรายชื่อเครื่องจักรหลัก / เครื่องจักรเสริม
- จัดทำแผนการบำรุงรักษา
- ควบคุมการซ่อมแซมเครื่องจักร
- บันทึกประวัติเครื่องจักร, ประวัติการซ่อมบำรุง
4.4 ผู้จัดการแผนกซ่อมบำรุง - อนุมัติแผนการซ่อมบำรุง
- ติดตามผลการซ่อมบำรุง
- ควบคุมอะไหล่คงคลัง
- จัดทำแผน และดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาโดยรวม (TPM)
4.5 ผู้จัดการโรงงาน - ส่งเสริมกิจกรรมการบำรุงรักษาโดยรวม












5. ขั้นตอนดำเนินงาน
5.1 การบำรุงรักษา (Maintenance)
5.1.1 การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)
5.1.1.1 การบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance)

ผู้รับผิดชอบ ขั้นตอนการทำงาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จัดทำบัญชีรายชื่อเครื่องจักรหลัก และเครื่องจักรเสริม (Main/Support Machine)
จัดทำแผนการบำรุงรักษาสำหรับเครื่องจักรที่กำหนด
· Check Sheet
· แผนการบำรุงรักษาแบบต่างๆ
- บัญชีรายชื่อเครื่องจักรหลัก
- บัญชีรายชื่อเครื่องจักรเสริม

- Check Sheet
- คู่มือการหล่อลื่นเครื่องจักร
- มาตรฐานการบำรุงรักษา
- แผนบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำ
สัปดาห์ / เดือน / ปี
- แผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามกำหนด





ไม่
อนุมัติแผน
ส่งคืนเพื่อแก้ไข




แผนการบำรุงรักษาแบบ ประจำวัน
อนุมัติ
แผนการบำรุงรักษาแบบ ตามกำหนด


ส่งสำเนาให้หัวหน้าแผนก ต่าง ๆ
· จัดเตรียมกำลังคน
· กำหนดคุณสมบัติคน
· จัดเตรียมเครื่องมือและอะไหล่
· น้ำมันหล่อลื่น
กรณีจ้างภายนอก ต้องติดต่อบริษัท


แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงกำหนดการบำรุงรักษา
ดำเนินการบำรุงรักษา ตามกำหนด
ร่วมกำหนดวัน และลำดับการบำรุงรักษากับหน่วยงาน
ดำเนินการซ่อมบำรุง ตามแผน ที่กำหนด
บันทึกผลการบำรุงรักษา ประจำวัน
ประชุม / ฝึกอบรม ผู้ที่เกี่ยวข้อง
A








C
C
A
B
บันทึกผลการบำรุงรักษา ตามแผน
B
จัดทำเป็นประวัติเครื่องจักร และประวัติการบำรุงรักษา







ตรวจวัด / ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วัดเสียง, วัดความสั่นสะเทือน, วัดความร้อน ฯลฯ
วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษา และคาดคะเนสภาพเครื่อง







บันทึกผลการตรวจวัด
จัดทำเป็นแผนการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance


















5.1.1.2 การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)

การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หมายถึง การบำรุงรักษาโดยการตรวจสอบ / ตรวจวัด การเสื่อสภาพของเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาแนวโน้มสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเครื่องจักรทำงาน เพื่อรับรู้สภาพเครื่องจักร คาดคะเนการซ่อมบำรุงล่วงหน้า โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษา ประวัติเครื่องจักร ตรวจวัด บันทึกผล วิเคราะห์ผล และการแก้ไขปัญหา

การตรวจวัด - ตรวจสอบ และวัดสภาพเครื่องจักร เพื่อดูอาการผิดปกติเบื้องต้นของเครื่องจักร

การวิเคราะห์ผล - เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา

การแก้ไข - เป็นการซ่อมแซม แก้ไข ปรับปรุง ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ หรือดีกว่าเดิม

ขั้นตอนการทำงานการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
1. ทบทวนประสิทธิภาพ ประวัติเครื่องจักร จำนวน แบบเครื่อง ความสำคัญของเครื่องจักรต่อกระบวนการ, ความถี่ของการขัดข้อง, ค่าใช้จ่ายซ่อม, การสั่งซื้ออะไหล่ใช้เวลานาน, มีผลต่อคุณภาพสินค้า, ความปลอดภัย, ข้อบังคับทางกฎหมาย
2. เลือกและกำหนดเครื่องจักรที่จะทำโดยพิจารณาจากข้อ 1
3. กำหนดการตรวจวัด ว่าวัดอะไร, วัดอย่างไร, วัดจุดไหน
4. จัดทำตารางการตรวจวัด การเสื่อมเสียหายของอะไหล่ การฝึกอบรม หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานกับเครื่องจักร การวางแผนการซ่อมโดยกำหนดวัน และระยะเวลา
5. ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
6. บันทึกผล

การตรวจวัด
1. วัดด้วยความรู้สึก - สัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู, หูฟัง, มือจับ, ดมกลิ่น, ชิมรส
2. วัดด้วยเครื่องมือ
- วัดความสั่นสะเทือนของเครื่อง / อะไหล่ - แนวดิ่ง, แนวราบ, แนวแกนเพลา
- วัดอุณหภูมิ
- วัดวิเคราะห์การสึกหรอของเครื่องจักรโดย - ชนิดของผงโลหะในน้ำมันหล่อลื่น
อาศัยการวิเคราะห์ น้ำมันหล่อลื่นของ - จำนวนผงโลหะ (น้ำหนัก / ลิตร)
เครื่องจักร - ขนาดของผงโลหะ (ผงขนาดเล็ก, ผงขนาดใหญ่)



- วัดโดยใช้เสียง, หูฟัง - หาแหล่งกำเนิดของเสียงที่ผิดปกติ
- ตรวจวัดความเสียหายของตลับลูกปืน
- วัดใช้กล้องส่อง

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ดีครับคุณพ่อลูกดก

ผมกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ครับ